เก่ง C# ให้ครบสูตร
ฉบับ OOP
How to order...Order now...
นิรันดร์ ประวิทย์ธนา 395 บ. 544 น. 340 บ.
  • เจาะลึกภาษา C# จาก 3.0 ถึง 4.0 รวมทั้ง Microsoft .NET Framework จาก 3.0 ถึง 3.5 และ 4.0
  • เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ OOP พื้นฐาน และวิวัฒนาการไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยี ADO .NET Entity Framework เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูล
  • อธิบายด้วยตัวอย่างซอร์ซโค้ดที่เข้าใจง่าย พร้อมแผนภาพ UML ประกอบทุกตัวอย่าง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?

  • ผู้ที่ต้องการเรียนรู้และพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยภาษา C#
  • ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบ OOP อย่างถูกต้อง
  • ผู้ที่สนใจการติดต่อฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแบบ OOP

จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง?

  • พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

จะทดสอบตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ต้องมีอะไรบ้าง?

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows 7 หรือ Windows ใดๆ ที่ติดตั้ง Visual C# ได้
  • โปรแกรม Visual C# Express 2010 และ Microsoft SQL Server Express 2008 (อ่านวิธีดาวน์โหลดและติดตั้งได้ในบทที่ 2)

เสียงตอบรับผลงานหนังสือเรื่องแรกของผู้เขียน => “เก่ง C# ให้ครบสูตร”

  • ผมเคยเข้าไปในห้องสมุดอ่านหนังสือเล่มนึง ชื่อว่า "เก่ง C# ให้ครบสูตร" ที่คุณนิรันดร์ ประวิทย์ธนา เป็นผู้เขียน เป็นหนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจและเนื้อหา ดีมากๆ เพราะเป็นภาษาไทยและใช้คำอธิบายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ในประเทศไทยจะหาหนังสือดีๆ แบบนี้ยากมาก
  • โสภณ
  • ผมได้ซื้อหนังสือ "เก่ง C# ให้ครบสูตร" มาศึกษา ผมชอบหนังสือของ Witty มาก อ่านเข้าใจง่ายดี ตอนนี้ก็มีอยู่หลายเล่มแล้ว แล้วเมื่อไหร่จะมีหนังสือเกี่ยวกับ C# ออกมาอีกครับ ขอให้ทีมงาน Witty ออกหนังสือดีๆ อย่างนี้มาอีกนะครับ
  • ชัยพงศ์
  • ผมไม่คิดว่าหนังสือไทยไม่ดีซะทั้งหมด มีหลายเล่มที่เขียนได้ดี เช่น “เก่ง C# ให้ครบสูตร” ผมว่าเล่มนี้ดีมาก ขอบอกเลย โดยส่วนตัวไม่ได้เขียน C# แต่พอได้อ่านแล้วทำให้ผมเข้าใจและใช้ OOP ได้ดีขึ้นมากครับ
  • xxxx (จากเว็บบอร์ด pantip.com)
  • ถ้าภาษาไทย เคยอ่านจริงๆ อยู่เล่มเดียวคือ "เก่ง C# ให้ครบสูตร" ของ Witty Group (ชาวพันทิปแนะนำ เลยซื้อมา) อ่านเพลินดีครับ คือรู้สึกอ่านแล้วไม่เหมือนอ่านน่ะ อ่านแล้วเหมือนมีคนมาเล่าให้ฟัง หรือคุยกันเพื่อนมากกว่า (แนวๆ ว่าเป็นกันเองน่ะแหละ) เลยทำให้บรรยากาศไม่เครียดดีครับ ที่ชอบอีกอย่างคือ คนเขียนชอบยกตัวอย่างโลกจริงๆ ทำให้เรามองเห็นภาพในขณะอ่านได้เลย (แต่ยังไงก็ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ อยู่ดี)
  • ไม่ลงชื่อ (จากเว็บบอร์ด witcomram.com)
  • ถ้าเป็นหนังสือ C# ที่เน้นแบบ command line แนะนำของบริษัท Witty ครับ (รู้สึกหนังสือชื่อ “เก่ง C# ให้ครบสูตร”) อธิบายได้เข้าใจง่ายมากทีเดียว (รวม OOP ไปแล้วด้วย)
  • Maikub (จากเว็บบอร์ด community.thaiware.com)

บทที่ 1 แนะนำ Microsoft .NET และ .NET Framework

Microsoft .NET คืออะไร .NET Framework มาจากไหน มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เราจะไขคำตอบให้ท่านผู้อ่านทราบอย่างทะลุปรุโปร่งก่อนในบทแรกนี้ เพราะเป็นสิ่งที่มีบทบาทเกี่ยวพันกับ ภาษา C# อย่างแยกกันไม่ออก ตั้งแต่ระดับพื้นฐานเลยทีเดียว

  • แพลตฟอร์ม...จากอดีตถึงปัจจุบัน
    • ยุคแรก เริ่มจากแพลตฟอร์มระบบ DOS
    • ยุคที่สอง กำเนิดแพลตฟอร์มระบบ Windows
    • ยุคที่สาม เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต
    • ยุคที่สี่ โลกอินเทอร์เน็ตหลอมรวมทุกสิ่งทุกอย่าง
  • หมัดเด็ดของแพลตฟอร์ม .NET อยู่ตรงไหน ??
    • สร้างรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมแบบใหม่
    • รองรับการพัฒนาอย่างครบวงจร
    • สร้างคอนเซปต์ที่เรียกว่า distributed system อันสมบูรณ์แบบ
    • มาตรฐานข้อมูลที่ตรงกัน
  • แล้วไม่มีจุดอ่อนบ้างเหรอ ??
  • หัวใจหลักของ Microsoft .NET คือ .NET Framework
    • .NET Framework 1.0
    • .NET Framework 1.1
    • .NET Framework 2.0
    • .NET Framework 3.0 และ 3.5
    • .NET Framework 4.0
  • ส่วนประกอบของ .NET Framework 2.0
    • Common Language Runtime 2.0 แม่บ้านของ .NET
    • .NET Framework Base Class Library เครื่องมือของ .NET
    • Runtime Hosts บ่งบอกการนำไปใช้งาน
  • ส่วนประกอบของ .NET Framework 3.0
  • ส่วนประกอบของ .NET Framework 3.5
  • ส่วนประกอบของ .NET Framework 4.0
  • โครงสร้างเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้
    • เลือกเนื้อหาเจาะลึก OOP
    • ปูพื้นฐานอย่างประณีต
    • In-Depth เจาะลึกให้รู้จริง
    • ใช้ได้ทั้ง C# 2.0 ถึง C# 4.0
    • มองให้ง่าย ไม่ซับซ้อน
    • แถมปิดท้ายด้วยวิดีโอคลิป
    • พูดคุย ซักถาม ทักทาย

บทที่ 2 C# ภาษาแห่ง .NET

หลังจากได้รู้จักกับ .NET Framework ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานของภาษา C# แล้ว ก็ได้ฤกษ์ที่จะมารู้จักภาษานี้อย่างจริงจังเสียที ไล่ตั้งแต่จุดกำเนิดของภาษา, ลักษณะเฉพาะของภาษา ไปจนถึงความสามารถของภาษา ก่อนที่จะเจาะลึกรายละเอียดในบทต่อๆ ไป

  • กำเนิด C#
  • ลักษณะเฉพาะของภาษา C#
    • เขียนคล่อง
    • เขียนง่าย
    • เป็นอ็อบเจกต์
    • ประสิทธิภาพสูง
    • สามารถทำงานระดับลึก
    • เน้นที่ XML
    • คุณสมบัติ generic type
    • เทคโนโลยี LINQ
    • พร้อมคุณสมบัติภาษาแบบไดนามิก
  • CLR ควบคุมการทำงานอยู่เบื้องหลัง
    • Common Type System (CTS)
    • Common Language Specification (CLS)
    • Common Intermediate Language (CIL)
    • Just in Time Compiler (JIT)
    • Virtual Execution System (VES)
  • C# ทำอะไรได้บ้าง
    • Console Application
    • Windows Forms
    • Windows Control
    • Windows Service
    • ASP.NET
    • Web Service
    • Web Control

บทที่ 3 เริ่มก้าวแรกกับ Visual C# Express Edition

การเรียนรู้ภาษา C# ให้ได้ผล ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลงมือปฏิบัติจริง ดังนั้น เราจะมาติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่อง แล้วลองเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C# จากนั้นจึงคอมไพล์และรันโปรแกรมเพื่อดูผลลัพธ์กันสักหน่อย โดยจะทดลองทั้งการเขียนโปรแกรมแบบง่ายๆ ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมติดต่อกับอินเทอร์เน็ต..!

  • แนะนำ Visual C# Express Edition ใครว่าของฟรีและดีไม่มีในไมโครซอฟต์
  • ดาวน์โหลด + ติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น
  • เรียนลัดสุดๆ วิธีการใช้ Visual C# 2010 Express Edition
  • โปรแกรมแรก Hello World ตามธรรมเนียม
  • ลองเขียนโปรแกรมเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตดูหน่อย

บทที่ 4 ก้าวแรกกับตัวแปรในภาษา C#

ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมภาษาใดๆ ก็หนีไม่พ้นต้องเริ่มต้นศึกษา syntax และตัวแปรก่อน ภาษา C# ก็เช่นเดียวกัน เนื้อหาบทนี้จะแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานอย่างตัวเลขและข้อความไปจนถึงตัวแปร array, struct และ enum รวมทั้งเรื่องของ reference type ซึ่งเป็น พื้นฐานที่จะเกี่ยวพันไปถึงอ็อบเจกต์ในบทหลังๆ

  • บทบาทที่ขาดไม่ได้ของตัวแปร
  • คัดแยกชนิดเป็น 5 กลุ่ม
    • เลขจำนวนเต็ม
    • เลขทศนิยม
    • บูลีน
    • ตัวอักษร
    • ข้อความ
  • จะใช้ตัวแปร ต้องสร้างและกำหนดค่า
  • โอเปอเรชันพื้นฐาน 3 แบบ
    • numerical operation
    • string operation
    • boolean operation
  • เก็บข้อมูลชนิดเดียวกันใน array
  • multidimensional array
  • เก็บข้อมูลต่างชนิดกันใน struct
  • เก็บข้อมูลที่ตั้งค่าขึ้นเองใน enum
  • value type และ reference type
  • จะทำงานกับ reference type ได้อย่างไร ??

บทที่ 5 ประโยคคำสั่งที่ใช้ควบคุมโปรแกรม

คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมด้วยการกำหนดและตรวจสอบเงื่อนไข เป็นความรู้ “ภาคบังคับ” อีกเรื่องหนึ่งที่โปรแกรมเมอร์มือใหม่ต้องแม่น ดังนั้น นอกจากบทนี้จะแนะนำคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขทั้งแบบธรรมดาและแบบให้ทำงานวนลูปแล้ว ยังมีโจทย์มาให้ฝึกสมองเล่นๆ ตอนท้ายบทด้วยครับ

  • ควบคุมด้วยการตรวจสอบเงื่อนไข
  • logical operator กับ comparison operator
    • comparison operator
    • logical operator
  • ตัดสินใจเลือกง่ายๆ แบบ if... else
  • ใช้ switch... case เลือกจากหลายๆ กรณี
  • while และ do... while ทำงานแบบวนลูป
  • ยังมี for สำหรับทำงานวนลูปอีกแบบหนึ่ง
  • foreach ใช้วนลูปสำหรับอาร์เรย์โดยเฉพาะ
  • break เพื่อหยุด และ continue เพื่อเริ่มวนลูปใหม่
  • ลองเขียนโปรแกรมแก้โจทย์ (ไม่ยาก) ดูหน่อย

บทที่ 6 พื้นฐานอ็อบเจกต์มาจากฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน คือพื้นฐานระดับรากหญ้าที่จะพัฒนาไปสู่การเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ที่ผมมักจะกล่าวย้ำมาตลอดนั่นเอง เมื่อผ่านบทนี้ไปแล้วคุณก็จะยกระดับฝีมือขึ้นไปอีกขั้น และพร้อมที่จะศึกษาคอนเซปต์ของโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์อย่างจริงจังในบทต่อไป

  • ว่าด้วยเรื่องข้อมูลกันอีกครั้ง
  • ส่งค่าอย่างไร-รับค่าอย่างไร
  • ฟังก์ชันคือผู้รับคำสั่งมาปฏิบัติ
  • ประโยชน์ที่ทำให้เราขาดฟังก์ชันไม่ได้
    • ช่วยให้โปรแกรมดูง่ายและสะอาด
    • ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว
    • ช่วยลดงานได้
  • ความสำคัญอยู่ที่ตอนสร้างฟังก์ชัน
  • เรียนรู้ฟังก์ชันจากตัวอย่าง
  • recursive function = ฟังก์ชันที่สั่งงานตัวเอง
  • void function = ฟังก์ชันที่ไม่มีค่า
  • function overloading = ฟังก์ชันชื่อซ้ำกัน

บทที่ 7 รู้จักอ็อบเจกต์และคลาส

บางคนอาจสงสัยว่า การเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิมไม่ดีตรงไหน ทำไมต้องเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ นี่คือปมปัญหาสำคัญที่จะต้องขบให้แตก เนื้อหาในบทนี้จะเท้าความให้เห็นภาพตั้งแต่ก่อนที่คอนเซปต์แบบอ็อบเจกต์จะถือกำเนิดขึ้น จนกระทั่งกลายมาเป็นหัวใจหลักในการเขียนโปรแกรมยุคปัจจุบัน

  • ก่อนเกิดอ็อบเจกต์
  • แก้ปัญหาด้วยอ็อบเจกต์
  • อ็อบเจกต์คืออะไร
  • ในอ็อบเจกต์มีอะไรบ้าง
    • คุณลักษณะ
    • การใช้งาน
  • อ็อบเจกต์กับ C#
  • ขั้นแรก = สร้างคลาสต้นแบบของอ็อบเจกต์
  • ขั้นที่สอง = สร้างอินสแทนซ์จากคลาสต้นแบบ
  • ขั้นสุดท้าย = เรียกใช้อินสแทนซ์ที่สร้างขึ้นมา
  • คอนสทรักเตอร์ = จุดเริ่มต้นของอินสแทนซ์
  • นำคอนสทรักเตอร์ไปใช้งาน
  • ดีสทรักเตอร์ = จุดจบของอินสแทนซ์
  • constructor overloading เมื่อมีคอนสทรักเตอร์เกินหนึ่ง
  • แก้ปัญหาด้วย this ถ้าพารามิเตอร์กับฟิลด์มีชื่อเหมือนกัน

บทที่ 8 ควบคุมส่วนประกอบของอ็อบเจกต์

ส่วนประกอบต่างๆ ของอ็อบเจกต์ อย่าง เมธอด, ฟิลด์ หรือพรอเพอร์ตี เป็นสิ่งที่จะต้องควบคุมในการเขียนโปรแกรม โดยการกำหนดสิทธิการเรียกใช้เป็น public หรือ private และกำหนดสถานะเป็น static หรือ dynamic ความแตกต่างของคุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้เอง ที่ทำให้การเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ ไม่เหมือนกับการเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิม

  • กักบริเวณเมธอดและฟิลด์ด้วย public และ private
  • ทำงานกับฟิลด์แบบ private ให้ง่ายขึ้น โดยอาศัยพรอเพอร์ตีส์
  • แจกแจงส่วนประกอบของคลาสแบบ static กับแบบ dynamic
    • เริ่มต้นที่ฟิลด์ก่อน
    • แล้วตามด้วยเมธอด
    • ตบท้ายกับพรอเพอร์ตีส์
  • ดูง่ายๆ ตอนไหนใช้ static ตอนไหนเป็น dynamic
  • ใช้ Object Initializer พร้อมกับ automatic properties ของ C# 3.0 ช่วยให้ชีวิตโปรแกรมเมอร์ง่ายขึ้นอีก

บทที่ 9 ถึงเวลานำอ็อบเจกต์มาใช้งาน

จะเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ให้เก่งๆ หลักสำคัญย่อมไม่ได้อยู่ที่ทฤษฎี แต่เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ในบทนี้จะอธิบายการทำงานเกี่ยวกับอ็อบเจกต์เบื้องต้น, การทำความเข้าใจเรื่องอ็อบเจกต์กับประเภทของข้อมูล, การทำงานระหว่างอ็อบเจกต์มากกว่าหนึ่งตัว รวมถึง operator overloading ซึ่งจะช่วยให้ใช้งานอ็อบเจกต์ได้ง่ายขึ้น

  • 7จะใช้งานอ็อบเจกต์ ต้องมองคลาสเป็น type
  • การทำงานกับอ็อบเจกต์ (ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก)
  • บวก-ลบ-คูณ-หาร เปรียบเทียบอ็อบเจกต์
    • unary operator
    • binary operator
    • multinary operator
  • ตัดแบ่งคลาสเป็นหลายๆ ไฟล์ด้วย partial
  • จะเชื่อมโยงอ็อบเจกต์ ต้องมองคลาสเป็น relation
  • หนังสือเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจ

บทที่ 10 อ็อบเจกต์ถ่ายทอดคุณสมบัติต่อๆ กันได้

อ็อบเจกต์หรือวัตถุในธรรมชาติ ล้วนมีคุณลักษณะต่างๆ ในตัวเองที่สามารถสืบทอดกันได้ อ็อบเจกต์ในโปรแกรมก็เช่นเดียวกัน หากคุณเข้าใจความเป็นไปและความสัมพันธ์ของวัตถุตามธรรมชาติ ก็ย่อมเข้าใจเรื่องของอ็อบเจกต์ในบทนี้ได้ กุญแจสำคัญอยู่ที่ว่า คุณลักษณะมีหลายแง่มุม ซึ่งเราต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อย เพื่อมองให้เห็นทะลุปรุโปร่ง!

  • inheritance คืออะไร
  • ทำความรู้จักกับบรรพบุรุษของคลาสใน .NET Framework
  • เพิ่มส่วนประกอบใหม่ในคลาสลูก ไม่มีผลต่อคลาสแม่
  • แก้ไขส่วนประกอบที่ถ่ายทอดจากคลาสแม่ ให้มีผลเฉพาะกับคลาสลูก
  • ระบุ base เพื่อเรียกใช้ส่วนประกอบเดิมของคลาสแม่
  • ใช้ protected เพื่อให้ลูกสืบทอดส่วนประกอบแบบ private จากแม่
  • polymorphism ความสัมพันธ์หลายแง่มุมระหว่างแม่-ลูก
  • เปลี่ยนสถานะกลางอากาศด้วย casting
  • กำหนด virtual function เพื่อเรียกจาก static class แทน dynamic class
  • abstract method เมธอดว่างงาน
  • ห้าม inherit คลาสด้วย sealed

บทที่ 11 เพิ่มความสามารถของอ็อบเจกต์ ด้วย interface

ดูเผินๆ interface อาจจะคล้ายกับ inheritance แต่ที่จริงแล้วทั้งคู่มีความแตกต่างกันทั้งการสร้างและการใช้งาน ผมขอเรียก interface ว่า เป็นการสืบทอดคุณสมบัติของอ็อบเจกต์แบบข้ามสายพันธุ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสามารถที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเติมเต็มให้การเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ มีประโยชน์ไม่น้อยหน้า inheritance เลย

  • polymorphism ภาคสอง ว่าด้วยเรื่องของประโยชน์
  • interface คืออะไร
  • interface เกี่ยวข้องอะไรกับ polymorphism
  • interface inheritance สถานะแบบข้ามสายพันธุ์
  • สร้าง interface inheritance ในภาษา C#
  • เพิ่ม interface เข้าไปในอ็อบเจกต์...
  • ...แล้วเรียกใช้ interface ให้เห็นผล
  • ลองของจริงกับ interface

บทที่ 12 จับอ็อบเจกต์ใส่กระด้งในนามของ namespace

การเขียนโปรแกรมสำหรับ .NET Framework มีสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย เนมสเปซก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ จนแทบจะเรียกว่าขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นแหล่งเก็บอ็อบเจกต์สำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระเบียบ และเราสามารถหยิบมาใช้ได้ทุกเวลาทุกโอกาส

  • รู้จักกับเนมสเปซ (อีกครั้ง)
  • เมื่อไรที่เราจำเป็นต้องใช้เนมสเปซ
  • เริ่มต้นสร้างเนมสเปซกันก่อน
  • 3 วิธีเรียกใช้คลาสจากเนมสเปซ
    • เรียกแบบเต็มยศ
    • เรียกด้วย using
    • เรียกโดยการตั้งชื่อเล่นหรือ alias
  • เนมสเปซซ้อนเนมสเปซ
    • วิธีแรก namespace1.namespace2
    • วิธีที่สอง namespace2 ซ้อนภายใต้บล็อกของ namespace 1
  • หน้าที่ของเนมสเปซต่างๆ ใน .NET Framework
  • คลาสแม่-ลูก ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเนมสเปซเดียวกัน

บทที่ 13 เขียน OOP กับฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยี ADO.NET Entity Framework

ไม่ว่าโปรแกรมเมอร์จะพัฒนาโปรแกรมด้วยอ็อบเจกต์ที่ถูกต้องสวยงามเพียงใด การบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในฐานข้อมูลยุคนี้ ก็ยังคงหนีรูปแบบฐานข้อมูล relational ไปไม่พ้นเทคโนโลยี ORM จะเป็นตัวช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้ในรูปแบบอ็อบเจกต์ ซึ่งจะช่วยลดเวลาการเขียนโปรแกรมได้ถึง 70% โดยประมาณ!!

  • object กับ relational
  • การเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจกต์ในอุดมคติ
  • ทักทาย object-relational mapping (ORM)
  • รู้จักกับ ADO .NET Entity Framework
  • เตรียมเครื่องให้พร้อมสำหรับ Entity Framework
  • เรียนลัด Entity Framework
    • เตรียมฐานข้อมูล SQL Server
    • สร้าง Entity Data Model
    • ทำความเข้าใจ Entity Data Model
    • เปรียบเทียบเอ็นทิตี้กับคลาสไดอะแกรม
    • เริ่มเขียนโปรแกรม
    • ลองรันโปรแกรมกันจริงๆ

บทที่ 14 เขียนโปรแกรม ADO .NET Entity Framework บนวินโดวส์แอปพลิเคชัน (1)

บทที่แล้วคุณได้รู้จักพื้นฐานของ ORM และ ADO .NET Entity Framework พอหอมปากหอมคอ ในบทนี้จะเจาะลึกรายละเอียดการเขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้วินโดวส์แอปพลิเคชัน เพื่อให้คุณเข้าใจภาพรวมการทำงานของภาษา C# ตั้งแต่ต้นจนจบ และสามารถนำภาคทฤษฏีต่างๆ ไปปรับใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เข้าใจวินโดวส์แอปพลิเคชัน
  • รู้จักกับคอนโทรล
  • รู้จักกับการเขียนโปรแกรมแบบอีเวนต์
  • เรียกชุดข้อมูล (Retrieve) จากฐานข้อมูลด้วย Entity Framework
    • สร้างตารางแสดงผลแบบลากวาง
    • เตรียม ORM สำหรับคลาส Form1
  • เรียกข้อมูลเดี่ยว (Retrieve) จากฐานข้อมูลด้วย Entity Framework
    • สร้างแบบฟอร์มสำหรับแสดงข้อมูลลูกค้ารายบุคคล
    • สร้างเมธอดแบบ Event Handler เพื่อรองรับการดับเบิลคลิกที่ customerGridView
    • ดูผลลัพธ์
  • แถมอีกนิดก่อนจบบท ด้วยการคำนวณชุดข้อมูล

บทที่ 15 เขียนโปรแกรม ADO .NET Entity Framework บนวินโดวส์แอปพลิเคชัน (2)

บทนี้เป็นบทรองส่งท้ายที่ผมจะนำโค้ดโปรแกรมฉบับสมบูรณ์ของโปรเจ็กต์ PetStore มาแสดงให้คุณดูพร้อมอธิบายจุดที่น่าสนใจ หากคุณทำความเข้าใจบทนี้ได้และไม่มีข้อติดใจสงสัยใดๆ นั่นหมายถึงว่าคุณพร้อมแล้วที่จะเริ่มก้าวแรกในการเขียนโปรแกรม C# เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี ADO .NET Entity Framework

  • เตรียมความพร้อม
    • จัดวางคอนโทรลให้พร้อม
    • เตรียมเมธอดแบบ Event Handler
  • เริ่มเขียนโปรแกรม
  • เรียกชุดข้อมูลลูกค้า
  • เรียกข้อมูลเดี่ยวของลูกค้า พร้อมกับชุดข้อมูลสัตว์เลี้ยง
  • สร้างข้อมูลลูกค้าและสัตว์เลี้ยง
  • ปรับปรุงข้อมูลลูกค้าและสัตว์เลี้ยง
  • ลบข้อมูลลูกค้าและสัตว์เลี้ยง

บทที่ 16 รู้จัก C# 4.0 และภาษาแบบ dynamic

หัวใจหลักของการเขียนโปรแกรมแบบอ็อบเจ็กต์ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ inheritance และ polymorphism ซึ่งได้พูดถึงในบทก่อนๆ แล้ว แต่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ C# 4.0 จะเปลี่ยนมุมมองของ inheritance และ polymorphism ไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ โดยการเขียนโปรแกรม C# 4.0 เรียกว่าการเขียนโปรแกรมแบบ dynamic และภาษา C# 4.0 ก็ถูกเรียกว่าภาษาแบบ dynamic

  • ทวน early binding กับ inheritance กันซักนิด
  • รู้จักกับ late binding และ dynamic ใน C# 4.0
  • วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของภาษาแบบ dynamic
  • เข้าใจ Dynamic Language Runtime ของ .NET Framework 4.0
  • ข้อสรุปของภาษาแบบ dynamic
  • ส่งท้ายกับภาษา C#

ภาคผนวก ก ค้นหา Base Class จาก Visual C# Object Browser

  • เรียกใช้ Object Browser
  • ทดลองค้นหาคลาส
  • ภาคผนวก ข เรื่องที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง

  • ส่วนประกอบอื่นๆ ของอ็อบเจกต์
  • อีกหลายๆ เรื่องที่น่ารู้
  • ภาคผนวก ค รวบรวมข้อมูลอ้างอิงภาษา C# และ .NET ที่น่าสนใจ

    FAQ คำถามที่พบบ่อย

    แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


    Copyrights © 2006-3006, Witty Group Co., Ltd.