แต่งศิลป์ให้เว็บสวย
ด้วย Macromedia Flash
How to order...Order now...
สุธีร์ นวกุล195 บ.220 น.170 บ.
  • เปิดโลกมัลติมีเดีย และแอนิเมชันตามแบบฉบับ Macromedia Flash ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงระดับประยุกต์ใช้งาน
  • ครอบคลุมเนื้อหาสําคัญ ทั้งเรื่องของ... อ็อบเจ็กต์, ปุ่ม, สีสัน, เลเยอร์, symbol, library, แบบฟอร์ม, เสียง ตลอดจนแอนิเมชันในลักษณะต่างๆ
  • อธิบายเป็นขั้นเป็นตอนแบบ 1-2-3 และมีภาพประกอบตลอดเล่ม เหมาะสําหรับผู้ต้องการนําผลงาน Flash ไปใช้แต่งแต้มสีสันให้กับเว็บเพจโดยเฉพาะ ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้มากเกินความจําเป็น

บทที่ 1 ก้าวย่างสำคัญของมัลติมีเดียกับ Flash

ในโลกของแอนิเมชัน และมัลติมีเดียในอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี Shockwave นับเป็นคลื่นลูกหนึ่งที่กำลังมาแรง ใช่... เรากำลังพูดถึงการใช้งานโปรแกรม Flash ซึ่งผู้ใช้ควรทำความรู้จักมักคุ้นกันก่อนว่าอะไรคืออะไร, การสร้างชิ้นงานแบบ Shockwave ด้วย Flash มีลักษณะเป็นอย่างไร จะได้หยิบจับนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

  • เปิดโลกมัลติมีเดีย
  • Flash คืออะไร?
  • สองสหาย... เวกเตอร์และบิตแมปกราฟิก
  • เตรียมตัวก่อนเริ่มใช้งาน Flash
  • ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม
  • การกำหนดขนาดและลักษณะพื้นหลังของมูฟวี่
  • ก่อนจบบท

บทที่ 2 วาดรูปง่ายๆ สไตล์ Flash

ลงมือวาดวัตถุกันก่อนเลย แต่ต้องรู้จักเครื่องมือก่อนด้วยนะ เพราะนี่คือพื้นฐานของการสร้างงานในลำดับต่อไป ต้องติดตามกันดูว่าจะง่ายหรือยากขนาดไหน... ทำได้อย่างไร...

  • ลองวาด... วาดวงรี
  • ลองวาด... สี่เหลี่ยม
  • วาดรูปทรงอิสระด้วย Pencil tool
  • ระบายสีด้วย Brush tool
  • เติมสีลงในอ็อบเจ็กต์
  • วาดปุ่มง่ายนิดเดียว
  • การใช้ขวดหมึก Ink bottle tool
  • การลบอ็อบเจ็กต์
  • ลบแบบทันใจด้วยก๊อกวิเศษ Faucet tool
  • เลือกลายเส้นและรูปทรง
  • การใช้ Smooth modifier
  • เลือกส่วนที่ต้องการในอ็อบเจ็กต์ด้วย Lasso tool
  • การใช้ Polygon modifier
  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมาส์พอยน์เตอร์
  • การขยายและการหมุนอ็อบเจ็กต์
  • การเปลี่ยนรูปแบบอ็อบเจ็กต์
  • เรื่องของกลุ่มอ็อบเจ็กต์
  • ก่อนจบบท

บทที่ 3 เทคนิคการสร้างข้อความ

ก่อนที่จะนำข้อความไปใช้ คุณจะต้องทราบถึงการจัดการเกี่ยวกับขนาด, ชนิดตัวอักษร, รูปแบบ, สี, การจัดตำแหน่ง และการหมุนต่างๆ ฯลฯ เพื่อที่จะนำไปใช้ร่วมกับการกรอกฟอร์ม, เกม และงานอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง

  • การสร้างรูปแบบข้อความ
  • สร้างเท็กซ์ฟิลด์
  • เปลี่ยนรูปแบบฟอนต์, ขนาด และรูปแบบย่อหน้า
  • การปรับระยะห่างระหว่างตัวอักษร
  • ก่อนจบบท

บทที่ 4 นำไฟล์จากที่อื่นๆ มาใช้ก็ได้นะ!

ในบางโอกาสที่คุณมีไฟล์รูปภาพที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมอื่นๆ แล้วต้องการนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรม Flash โชคดีที่คุณสามารถอิมพอร์ตไฟล์กราฟิกรูปแบบต่างๆ กันได้ เพื่อช่วยสร้างงานของคุณให้มีรูปแบบ และสีสันที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  • ไฟล์รูปภาพที่อิมพอร์ตได้
  • ขั้นตอนการอิมพอร์ตไฟล์
  • การใช้คำสั่ง Copy และ Paste มาจากโปรแกรมอื่น
  • การ paste อิมเมจบิตแมปลงใน Flash
  • ทำไมต้องใช้ Trace Bitmap
  • การวาดภาพด้วยอิมเมจบิตแมป
  • ก่อนจบบท

บทที่ 5 เข้าใจเรื่องเลเยอร์

หากจะเอ่ยถึงคำว่า “เลเยอร์” แล้ว ผู้ที่คุ้นเคยกับโปรแกรม Photoshop มาก่อน คงต้องรู้จักดี เพราะเลเยอร์เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ทำได้โดยง่าย

  • รู้จัก Timeline
  • เลเยอร์
  • การเปลี่ยนตำแหน่งของเลเยอร์
  • ทำความเข้าใจเลเยอร์เพิ่มอีกนิด
  • ก่อนจบบท

บทที่ 6 symbol และการใช้งาน

การสร้างอ็อบเจ็กต์เพื่อเก็บไว้ใช้งานในภายหลังนั้น เราเรียกว่า symbol เพราะทุกครั้งที่เริ่มทำงาน คุณจะต้องสร้างอิมเมจ, แอนิเมชัน, ปุ่ม ฯลฯ ขึ้นมา แต่พอสร้างชิ้นงานใหม่คุณก็ต้องสร้างอ็อบเจ็กต์ต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาอีก ซึ่งย่อมทำให้เสียเวลาอย่างแน่นอน... ลองมาดูขั้นตอนการสร้าง symbol กันดีกว่า

  • สัญลักษณ์แทน symbol
  • การสร้าง symbol
  • รู้จักกับ instance
  • การเรียกใช้งาน Library ในโปรแกรม Flash
  • รายละเอียดวินโดว์ Library
  • ปุ่ม
  • ทดสอบผลงาน
  • การแก้ไข Symbol
  • การใช้ Break Apart กับ instance
  • การเปลี่ยนสีและการทำให้ instance โปร่งใส
  • การก๊อบปี้ symbol
  • การเปลี่ยนชนิดของ instance
  • กำหนดออปชัน play mode ให้กับแอนิเมชัน graphic instance
  • ก่อนจบบท

บทที่ 7 ทดลองสร้างแอนิเมชันหลายๆ ลักษณะ

การสร้างแอนิเมชัน หรือภาพเคลื่อนไหวนั้น เป็นเสน่ห์และสีสันอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผลงานจาก Flash ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น เราลองมาดูขั้นตอนการสร้างกันซิว่า... จะต้องทำอย่างไรบ้าง

  • การสร้าง keyframe
  • ในกรณีการสร้างตามช่วงเฟรมที่ต้องการ
  • แอนิเมชันที่พบเห็นใน Timeline
  • มารู้จักกับ tween แอนิเมชัน
  • Shape tweening
  • แอนิเมชันแบบเฟรมต่อเฟรม
  • การใช้ Onion skinning
  • ก่อนจบบท

บทที่ 8 มูฟวี่โต้ตอบ

การสร้างรายการเมนูโต้ตอบนั้น ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่หลายๆ เว็บไซต์นิยมใช้กัน เพราะช่วยให้เว็บเพจมีลักษณะของการโต้ตอบได้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่มใดก็จะปรากฏแอนิเมชันต่างๆ ขึ้นมา ล้วนแล้วแต่เกิดจากการสร้างในบทนี้ทั้งสิ้น

  • การสร้างปุ่ม
  • ใส่แอคชันให้กับปุ่มหรืออ็อบเจ็กต์อื่นๆ
  • กำหนดแอคชันให้กับเฟรม
  • การแก้ไขแอคชัน
  • ก่อนจบบท

บทที่ 9 user interface ใครว่าไม่สำคัญ

การสร้าง user interface นั้น ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับแบบฟอร์มโต้ตอบ หรือแบบฟอร์มเพื่อรอรับการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้งาน สำหรับโปรแกรม Flash นั้น... คุณก็สามารถสร้างแบบฟอร์มเหมือนกับแอปพลิเคชันทั่วไปได้เช่นกัน

  • การสร้างฟอร์ม
  • การสร้างไดอะล็อกบ็อกซ์
  • Hierarchical เมนู
  • ก่อนจบบท

บทที่ 10 เรื่องของเสียง

เสียง... นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มบรรยากาศในการรับฟังและการใช้งาน Flash ทำให้รู้สึกว่าผลงานชิ้นนั้นๆ มีความสมจริงสมจังมากขึ้น ผู้ชมจะรู้สึกคล้อยตามไปกับเนื้อหาการนำเสนอ และเกิดความประทับใจได้ในที่สุด

  • การอิมพอร์ตไฟล์เสียง
  • การเพิ่มเสียงลงในมูฟวี่
  • การแทรกไฟล์เสียงจากวินโดว์ Library
  • การแก้ไขและควบคุมเสียง
  • การใส่เสียงให้กับปุ่ม
  • การเอ็กซ์พอร์ตมูฟวี่ด้วยเสียง
  • ก่อนจบบท

บทที่ 11 การนำ Flash ไปใช้งาน

มาถึงตรงนี้... หลังจากลงมือสร้างชิ้นงานมูฟวี่ในรูปแบบของ Flash กันเป็นที่เรียบร้อย ก็ได้เวลานำชิ้นงานขึ้นไปใช้ในเว็บเพจเสียที ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแสดงมูฟวี่ในเว็บเบราเซอร์, Flash Player, HTML หรือนำเสนอในรูปแบบอื่นๆ เพื่ออวดสายตาใครต่อใครได้เลย

  • ทดสอบเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลด
  • การนำ Flash มูฟวี่ไปใช้งาน
  • การใช้ Publish Preview
  • การใช้ Export Movie และ Export Image
  • ก่อนจบบท

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 2000, Witty Group Co., Ltd.