PHP เปลี่ยนวิถีสู่การสร้างโฮมเพจ
อย่างมือโปร
How to order...Order now...
กิตติภูมิ วรฉัตร195 บ.235 น.170 บ.
  • เป็นทางเลือกใหม่ของการเขียนสคริปต์ใช้งาน ซึ่งมีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่า ASP และ CGI/Perl แต่มีวิธีการเขียนที่ง่ายกว่า
  • ง่ายต่อการพัฒนา web database โดยเขียนสคริปต์เรียกใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลยอดนิยมอย่าง Microsoft Access หรือโปรแกรมดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ที่มาแรงอย่าง MySQL ก็ได้
  • ติดตั้งได้ไม่ยาก ไม่ว่ากับระบบปฏิบัติการสำคัญๆ อย่าง Linux หรือกับระบบปฏิบัติการสายพันธุ์ Windows
  • ถ่ายทอดเนื้อหาในสไตล์เป็นกันเอง มีตัวอย่างสคริปต์ประยุกต์ใช้งานหลากหลายลักษณะแถมสรุปท้ายแต่ละบทด้วยคำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางดัดแปลงสคริปต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ดาวน์โหลดตัวอย่างสคริปต์และอัปเดตเนื้อหาล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ www.witty.net

บทที่ 1 ปูพื้นฐานเพื่อวิถีทาง Professional Home Page

สคริปต์ PHP เป็น embedded script กล่าวคือ เราสามารถเขียนเว็บเพจไปตามปกติ โดยตำแหน่งใดต้องการให้แสดงผลลัพธ์ด้วยคำสั่งของภาษา HTML ก็กำหนดแท็ก (tag) ของ HTML ลงไป และหากตำแหน่งใดต้องการให้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียกใช้ฟังก์ชันของ PHP ก็เพียงแต่แทรกแท็กของสคริปต์ PHP เข้าไปเว็บเพจนั้นก็จะกลายเป็นเว็บเพจที่ทรงพลังทันที

  • ทำความเข้าใจสคริปต์ PHP
  • ไฟล์เว็บเพจของ PHP จะมีนามสกุลอะไร ??
  • ติดตั้ง PHP ให้กับ Windows
  • วิธีแก้ไข Registry
  • ถ้าใช้ PHP กับ IIS4 ใน Windows NT ต้องทำอย่างไร
  • ถ้าใช้ PHP กับ Apache ใน Windows ต้องทำอย่างไร
  • ติดตั้ง PHP ให้กับ Linux
  • ตัวอย่างการเขียนสคริปต์ PHP
  • คำสั่ง echo หรือ print
  • เชื่อมข้อความได้ตามอัธยาศัย
  • โครงสร้างการเขียนสคริปต์ภาษา PHP
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 2 ระดมฟังก์ชันจัดการไฟล์ข้อความเพื่อสร้างสมุดเยี่ยม

PHP มีฟังก์ชันสำหรับทำงานกับไฟล์ไว้ให้เรียกใช้อย่างมากมาย ซึ่งในบทนี้เราจะฝึกเขียนเว็บเพจโดยใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันเหล่านั้น รวมทั้งแสดงตัวอย่างการเก็บทึกข้อมูลการเซ็นสมุดเยี่ยมลงในไฟล์เมื่อมีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • แยกชื่อไฟล์และชื่อไดเรกทอรี : basename() กับ dirname()
  • ทำสำเนาไฟล์ : copy()
  • เปิดไฟล์ข้อความก่อนเลย : fopen()
  • เขียนข้อมูลลงไฟล์ : fputs() กับ fwrite()
  • อ่านไฟล์ทีละบรรทัดลงตัวแปร : fgets()
  • อ่านไฟล์ทีละบรรทัดลงอาร์เรย์
  • แล้วหาจำนวนบรรทัด : file() กับ sizeof()
  • มีไฟล์ที่ต้องการหรือไม่ : file_exists()
  • อยากสร้างสมุดเยี่ยมต้องมีอะไรบ้าง
  • เว็บเพจที่ 1 แบบฟอร์มกรอกสมุดเยี่ยม
  • เว็บเพจที่ 2 บันทึกข้อความจากเว็บเพจแรกลงไฟล์
  • เว็บเพจที่ 3 แสดงสมุดเยี่ยมครับ
  • ลบไฟล์ข้อความ : unlink()
  • เปลี่ยนชื่อไฟล์ข้อความ : rename()
  • สร้างไดเรกทอรีและลบไดเรกทอรี : mkdir() กับ rmdir()
  • แทนคำเก่าด้วยคำใหม่ : ereg_replace() กับ eregi_replace()
  • ตัดช่องว่างหน้า-หลังข้อความ : ltrim(), chop() กับ trim()
  • เติม / เพื่อคงเครื่องหมายพิเศษ : addslashes()
  • แปลงตัวอักษรกับค่า ASCII : chr() กับ ord()
  • แสดงแท็ก HTML ในเว็บเพจ : tmlspecialchars()
  • หาตำแหน่งข้อความที่ต้องการ : strpos()
  • หาตำแหน่งสุดท้ายที่พบ : strrpos()
  • ตัดให้เหลือข้อความบางส่วน : strchr() กับ strrchr()
  • หาจำนวนตัวอักษรในข้อความ : strlen()
  • ตัดข้อความตรงตำแหน่งที่ต้องการ : substr()
  • แปลงข้อความเป็น lower case หรือ
  • upper case : strtolower() กับ strtoupper()
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 3 เขียนภาพกราฟิกเพิ่มความสะดุดตาในเว็บ

ดูเหมือนว่าเว็บเพจใดที่ปราศจากรูปภาพกราฟิกจะกลายเป็นเว็บเพจที่ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย ในทางกลับกันหากมีรูปภาพกราฟิกเสริมเข้าไปก็จะทำให้เว็บเพจน่าสนใจขึ้นมาได้ทันที ยิ่งหากเป็นรูปภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการก็ยิ่งจะเป็นที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

  • กำหนดชนิดของข้อมูลด้วย header() ก่อน
  • แล้วกำหนดขนาดภาพกราฟิก
  • และกำหนดสีที่จะใช้
  • ระบายสีพื้นของรูปภาพ
  • ขีดหรือวาดเส้นตรง
  • ระบายสีลงในพื้นที่สี่เหลี่ยม
  • เขียนข้อความประกอบไว้บ้าง
  • เริ่มสร้างและยุติการสร้างรูปภาพ
  • ได้เวลาแสดงรูปภาพทางเว็บเพจเสียที
  • สร้างกราฟแท่งเพื่อเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ลักษณะอื่นๆ
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 4 ส่งเมลและไฟล์ผ่านเว็บทำได้ทุกที่ทุกเวลา

การส่งอีเมลและการส่งไฟล์ผ่านทางเบราเซอร์ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการทำงานที่เรียกว่าการทำงานแบบเว็บ ซึ่งเป็นวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากและสามารถดัดแปลงใช้ในลักษณะต่างๆ เช่น นำไปใช้รับส่งข่าวสารในหมู่สมาชิก

  • ฟังก์ชันเดียวส่งเมลทันที : mail()
  • เขียนเว็บเพจส่งจดหมาย
  • ส่งแฟ้มเอกสารผ่านเว็บเพจ : upload()
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 5 ติดต่อฐานข้อมูลโดยอาศัย ODBC driver

ODBC หรือ Open Data Base Connectivity คือการติดต่อกันระหว่างโปรแกรมสองโปรแกรมเพื่อให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ แม้ว่าต่างก็เก็บข้อมูลในรูปแบบที่ไม่เหมือนกันก็ตาม อย่างเช่น การเขียนสคริปต์ PHP เพื่อเรียกใช้แฟ้มข้อมูลที่เก็บบันทึกในรูปแบบของ Microsoft Access

  • DSN สำคัญแค่ไหน
  • กำหนด DSN ได้ไม่ยาก
  • เปิดการติดต่อฐานข้อมูล
  • ใช้คำสั่ง SQL ในการทำงาน
  • มีจำนวนคอลัมน์ (field) เท่าไร ??
  • มีชื่อคอลัมน์ (field name) อะไรบ้าง
  • มีจำนวนรายการ (row) เท่าไร ??
  • เลื่อนตัวชี้ข้อมูลไปทีละรายการ
  • แสดงข้อมูลโดยเจาะจงคอลัมน์ในรายการที่ถูกชี้อยู่
  • เขียนเว็บเพจแสดงข้อมูลผ่านเว็บเบราเซอร์
  • เพิ่ม-แก้ไข-ลบข้อมูล
  • ลองเพิ่มข้อมูลก่อน
  • ขอแก้ไขข้อมูลบ้าง
  • ลบข้อมูลทิ้ง !!
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 6 ใช้ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ MySQL ตัวเก่ง บริหารข้อมูลผ่าน PHP

ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์เป็นโปรแกรมอีกจำพวกหนึ่งทางด้านฐานข้อมูล ซึ่ง PHP มีฟังก์ชันต่างๆ ให้เรียกใช้งานได้อยู่แล้ว โดยฟังก์ชันของ PHP จะสั่งให้ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ทำงาน แล้วส่งเฉพาะผลลัพธ์ออกมา ดังนั้นประสิทธิภาพการทำงานจะขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรมดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์โดยตรง

  • MySQL น่าสนใจตรงไหน
  • ติดตั้ง MySQL ง่ายกว่าที่คิด
  • จัดเตรียมแฟ้มข้อมูลก่อนเขียนสคริปต์
  • เปิดการติดต่อดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
  • ปิดการติดต่อดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
  • เลือกแฟ้มข้อมูลที่จะใช้
  • สั่งงานด้วยคำสั่งภาษา SQL
  • ถ่ายข้อมูลจากรายการลงอาร์เรย์
  • แสดงข้อมูลทั้งหมดที่มี
  • มีข้อมูลกี่คอลัมน์ ??
  • และมีทั้งหมดกี่รายการ ??
  • เขียนเว็บเพจแสดงข้อมูลจากดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 7 นับจำนวนด้วยเคาน์เตอร์แบบไม่โกงตัวเลข

เมื่อเราสร้างเว็บเพจขึ้นมาก็คงอยากจะทราบว่าเว็บเพจของเรามีคนเข้ามาอ่านกี่คนแล้ว วิธีที่ทำได้ไม่ยากแต่มีประสิทธิภาพคือ เราจะอาศัยฟังก์ชันทางด้านกราฟิกมาสร้างภาพตัวนับหรือเคาน์เตอร์เอาไว้ใช้งานเอง โดยเก็บค่าตัวนับเอาไว้ในไฟล์ข้อความหรือฐานข้อมูลก็ได้

  • สร้างส่วนที่ 2 ซึ่งใช้ร่วมกันก่อน
  • สรุปขั้นตอนการสร้างภาพตัวเลขของส่วนที่ 2
  • สร้างส่วนที่ 1 แบบที่ 1 เก็บตัวเลขลงในไฟล์ข้อความ
  • สร้างส่วนที่ 1 แบบที่ 2 เก็บตัวเลขลงในฐานข้อมูล ODBC
  • สร้างส่วนที่ 1 แบบที่ 3 เก็บตัวเลขลงในดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 8 ฟังก์ชันบอกวันและเวลา พลิกแพลงได้หลายแบบ

เราจะพบว่าเกือบทุกเว็บเพจที่เขียนขึ้นมามักมีเรื่องของวัน-เวลามาเกี่ยวข้อง เช่น ต้องการแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้คือวันและเวลาอะไร หรืออาจจะเพื่อการสื่อความหมายให้ทราบข้อมูลที่ต้องการ หรือการนำเอาวัน-เวลาไปใช้ในงานทางด้านฐานข้อมูล เป็นต้น ดังนั้น PHP จึงมีฟังก์ชันเกี่ยวกับวัน-เวลาไว้ให้เรียกใช้อย่างสะดวก

  • วันและเวลา (ปัจจุบัน)
  • แสดงแบบไทยๆ
  • สร้าง include file เพื่อเรียกใช้ให้สะดวก
  • ระบุวัน-เวลาแบบเจาะจงโดยไม่อิงปัจจุบัน
  • วันพรุ่งนี้เป็นวันอะไร
  • เป็นวันที่ตามปฏิทินจริงหรือไม่ ??
  • หาผลต่างของวันและหาวันที่กำหนด
  • แสดงวัน-เวลาแบบท้องถิ่น : strftime()
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 9 เก็บภาพแบบ BLOB ลงฐานข้อมูลเตรียมไว้อวดให้คนชม

โปรแกรมระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่สามารถรองรับข้อมูลที่เป็นชนิด binary ได้ ซึ่งข้อมูลที่นิยมนำมาเก็บก็คือ ไฟล์รูปภาพอันเป็นข้อมูลที่สำคัญมากๆ ในปัจจุบัน เพราะรูปภาพอธิบายอะไรต่อมิอะไรได้มากมายกว่าตัวอักษร และการบริหารข้อมูลรูปภาพก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเลย

  • ขาด BLOB ไม่ได้แล้ว
  • สร้างตารางข้อมูลก่อน
  • เตรียมไฟล์รูปภาพ
  • BLOB และ MySQL
  • 5 ขั้นตอนสร้างเว็บเพจที่สมบูรณ์
  • ขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกไฟล์รูปภาพเพื่อส่ง
  • ขั้นตอนที่ 2 นำไฟล์ที่ส่งมาบันทึกไว้ในแฟ้มข้อมูล
  • ขั้นตอนที่ 3 แบ่งข้อมูลทั้งหมดมาแสดงทีละหน้า
  • ขั้นตอนที่ 4 แสดงรายละเอียดทีละรายการ
  • ขั้นตอนที่ 5 โชว์รูปภาพให้ชมเต็มตา
  • แนะนำส่งท้ายบท

บทที่ 10 เสนอขายสินค้าผ่านเว็บแบบกึ่งอีคอมเมิร์ซ

ร้านค้าในฝันคงเป็นสิ่งที่อยู่ในความคิดของคนจำนวนไม่น้อยนั่นคือ ต้องการจะทำให้โฮมเพจของตนเองกลายเป็นร้านค้าที่เปิดดำเนินการค้าขายได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องมีพนักงาน ซึ่งเป็นระบบการค้ารูปแบบใหม่อย่างที่เราเรียกกันรวมๆ ว่าอีคอมเมิร์ซ (e-commerce)

  • ต้องเขียนอะไรบ้าง
  • ชี้แจงก่อนดำเนินการ
  • ขั้นตอนที่ 1 เริ่มที่การเตรียมแฟ้มข้อมูล
  • ขั้นตอนที่ 2 โชว์หน้าตาของร้านเสียหน่อย
  • ขั้นตอนที่ 3 วางสินค้าทั้งหมดไว้ในร้านให้ลูกค้าเลือก
  • ขั้นตอนที่ 4 แสดงรายละเอียดของสินค้าและให้สั่งซื้อได้เลย
  • ขั้นตอนที่ 5 บันทึกและแก้ไขรายการสินค้าที่สั่งซื้อ
  • ขั้นตอนที่ 6 สรุปรายการสินค้าในรถเข็น
  • ขั้นตอนที่ 7 ส่งใบสั่งซื้อสินค้า
  • ขั้นตอนเสริม ขอดูสินค้าที่ต้องการ
  • แนะนำส่งท้ายบท

ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ควรมีไว้เพื่อเขียนเว็บเพจกับ Linux

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็เหมือนการทำงานอื่นๆ ที่ต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เข้าช่วย ในกรณีของคนที่เคยชินกับระบบ Windows แล้วจะหันมาทำงานกับระบบ Linux ซึ่งเป็นระบบที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน ยิ่งสมควรหาเครื่องมือมาช่วยเพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวก

  • ขอ Samba หน่อยครับ
  • เห็น Linux จาก Windows แล้ว
  • เป็นไคลเอนต์ของ Linux ได้สำเร็จ
  • เก็บคู่มือของ PHP เอาไว้อ้างอิงส่วนตัว
  • เสาะแสวงหาแหล่งตัวอย่างสคริปต์ PHP
  • ไม่ควรละเลย MySQL ด้วย
  • และสุดท้าย…อย่าลืม mcu1.psu.ac.th

ภาคผนวก ข จาก PHP3 ไปสู่ Zend แล้วเป็น PHP4

สายน้ำไม่อาจหยุดนิ่งฉันใด กระแสอินเทอร์เน็ตก็มิอาจหยุดนิ่งได้ โดยเฉพาะในแง่การแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบกันแล้วไม่เพียงแต่มิอาจหยุดนิ่งเท่านั้น แต่ต้องเคลื่อนไหวให้เร็วกว่าคู่แข่งอีกด้วย คู่แข่งของ PHP ในยุคนี้คือ ASP ดังนั้น PHP3 จึงจำเป็นต้องพัฒนา PHP รุ่นใหม่ๆ ออกมาโดยมีเป้าหมายที่จะต้องดีกว่าและเหนือกว่า ASP ให้ได้

  • Zend engine
  • PHP4 รุ่นทดสอบที่ 4
  • PHP 4.0 ไม่ผูกติดระบบปฏิบัติการใดๆ
  • PHP4 เข้ากันได้ดีกับ PHP3
  • เล็กลงแต่เร็วขึ้น
  • สนับสนุนการเรียกใช้อ็อบเจ็กต์ภายนอก
  • จัดการกับหน่วยความจำได้ดีกว่า
  • เพิ่มการจัดการตัวแปรแบบ session
  • ต้องหมั่นติดตามความเคลื่อนไหว

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 2000, Witty Group Co., Ltd.