PHP+MySQL=PHP-Nuke
สร้างเว็บได้โดยไม่ต้องเขียนสคริปต์เอง

(พร้อมซีดี 1 แผ่น)
How to order...Order now...
ณัฐภัชร ณ เขาวงกต 395 บ.424 น.340 บ.

    อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ท่านจะรู้วิธี...

  • ติดตั้งเว็บไซต์ด้วย PHP-Nuke อย่างถูกต้อง
  • เปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • เพิ่มเนี้อหาเข้าไปในเว็บไซต์อย่างรวดเร็ว เพียงแค่กรอกข้อมูลที่ต้องการ แถมยังตั้งเวลาในการแสดงผลได้ด้วย
  • ดูแลจัดการบล็อกย่อยๆ แต่ละส่วนของเว็บไซต์ได้ง่ายๆ
  • เลือกใช้โมดูลสำเร็จรูปที่มีอยู่หลากหลาย เช่น ฟอรัม, โพลล์ออนไลน์, ระบบจัดการสมาชิกเว็บไซต์, ระบบจัดการแบนเนอร์ ฯลฯ...และอื่นๆ อีกสารพัด!

บทที่ 1 ต้นกำเนิด PHP-Nuke

PHP-Nuke เป็นเว็บแอปพลิเคชันสำเร็จรูป ที่ทำงานในลักษณะ Content Management System เพราะมีจุดเด่นในด้านการควบคุมดูแลจัดการสร้าง "เนื้อหา" ให้แก่เว็บไซต์ ตามความต้องการหลากหลายรูปแบบ เราจะมาทำความรู้จักภูมิหลังและเบื้องหลังของเครื่องมือมหัศจรรย์ชิ้นนี้ ก่อนที่จะนำมาใช้งานอย่างจริงจังในบทต่อๆ ไป

  • ปัญหาที่ (เคย) แก้ไม่ตกของการพัฒนาเว็บไซต์
  • ทางออกที่คลี่คลายปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
  • FAQ ที่น่าสนใจและควรรู้เกี่ยวกับ PHP-Nuke
    • PHP-Nuke คืออะไร?
    • ใครเป็นต้นคิดสร้าง PHP-Nuke คนแรก?
    • คิดขึ้นมาแล้วเขาได้อะไรตอบแทน?
    • องค์ประกอบในการสร้างเว็บไซต์ด้วย PHP-Nuke มีอะไรบ้าง?
    • มีฟีเจอร์อะไรบ้างใน PHP-Nuke เวอร์ชันล่าสุด?
    • ในเมื่อ PHP-Nuke ดีอย่างนี้แล้ว คนอื่นไม่คิดทำบ้างเหรอ?
    • ถ้าต้องการใช้งาน PHP-Nuke ต้องมีความรู้อะไรบ้าง?

บทที่ 2 ตามล่าหาเพื่อนร่วมก๊วน PHP-Nuke

ถ้าจะสร้างเว็บไซต์ด้วย PHP-Nuke อย่างเต็มรูปแบบ เราต้องมี Apache, PHP, MySQL อยู่ในเครื่อง และแน่นอนว่าต้องมี PHP-Nuke ด้วย นอกจากนี้ควรจะมี phpMyAdmin เป็นเครื่องมือช่วยใช้งาน MySQL รวมทั้งโปรแกรม ArGoSoft Mail Server สำหรับทดสอบการรับ-ส่งอีเมล การติดตั้งโปรแกรมทั้งหมดนี้ไม่ยุ่งยากอะไร ส่วนที่อาจวุ่นวายหน่อยอยู่ที่การเซ็ตค่าการใช้งานซึ่งต้องระมัดระวังให้ดี

  • ติดตั้ง Apache + PHP + MySQL + PHP-Nuke + phpMyAdmin ทีละโปรแกรม
    • ติดตั้ง Apache Web Server
    • ติดตั้ง PHP
    • ติดตั้ง MySQL
    • ติดตั้ง PHP-Nuke
    • ติดตั้ง phpMyAdmin
  • เซ็ตค่าโปรแกรมและทดสอบดูว่าทำงานปกติหรือเปล่า
    • เซ็ตค่า PHP ก่อน
    • ตามด้วยการเซ็ตค่า Apache
    • ทดสอบการทำงานของ PHP กับ Apache
    • คิวต่อไป...เซ็ตค่า MySQL
    • แล้วค่อยเซ็ตค่า PHP-Nuke
    • เซ็ตค่า phpMyAdmin ปิดท้าย
  • ติดตั้ง Apache + PHP + MySQL + PHP-Nuke + phpMyAdmin ในขั้นตอนเดียว
  • ติดตั้ง+เซ็ตค่า ArGoSoft Mail Server ใช้ทดสอบการส่งอีเมล
    • ติดตั้ง ArGoSoft Mail Server
    • เซ็ตค่า ArGoSoft Mail Server
    • กำหนดอีเมลแอ็กเคานต์ใน Outlook Express
  • อัปเกรด PHP-Nuke จาก 5.6 เป็น 6.0
  • ติดตั้ง PHP-Nuke เพื่อสร้างเว็บไซต์ในเซิร์ฟเวอร์จริง
    • ถ้าเป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เอง
    • ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เอง

บทที่ 3 ก้าวแรกสู่การจัดการเว็บไซต์

บุคคลที่มีบทบาทและอำนาจมากที่สุดของเว็บไซต์ที่สร้างด้วย PHP-Nuke ได้แก่ "ผู้ควบคุม" หรือที่เรียกว่า Administrator โดยมีหน้าที่ควบคุม-ดูแล-จัดการทุกสิ่งทุกอย่างของเว็บไซต์แบบครอบจักรวาล ผ่านทาง Administration Menu ซึ่งผมจะมาแนะนำให้รู้จักเป็นอันดับแรกในบทนี้

  • สำรวจหน้าตา PHP-Nuke
  • ศูนย์กลางการควบคุมอยู่ที่ Administration Menu
  • มีอะไรบ้างที่ Administrator เห็น แต่ผู้ชม (อาจ) ไม่เห็น
  • ชิมลางเล่นบท Administrator สักหน่อย
  • รู้ทางออก Logout / Exit ไว้ก่อน

บทที่ 4 ตั้งค่าเริ่มต้นในเมนู Preferences

เมนู Preferences เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของ PHP-Nuke เสมือนกับหัวใจห้องหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นช่องทางสำหรับแก้ไขและกำหนดลักษณะการทำงานโดยรวมของเว็บไซต์เรา ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีมากของ PHP-Nuke ที่ยอมให้ Administrator แก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ

  • กำหนดรายละเอียดทั่วๆ ไปของเว็บไซต์
  • ระบบหลายภาษาและแบนเนอร์
  • แสดง Footer ตอนท้ายเว็บเพจทุกหน้า
  • แลกเปลี่ยนข่าวสารกับเว็บไซต์อื่นผ่าน Backend
  • ส่งอีเมลแจ้งอัตโนมัติเมื่อมีผู้ชมโพสต์บทความ
  • แต่งตั้ง "ผู้ดูแลตรวจตรา" ประจำเว็บ
  • กำหนดค่าเกี่ยวกับคอมเมนต์, กราฟิก และจิปาถะ
  • หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกพึงกระทำ
  • วางระบบ "เซ็นเซอร์" คำไม่สุภาพ
  • กำหนดค่าเกี่ยวกับการให้บริการ WebMail
  • ตัวอย่างผลที่เกิดจากการตั้งค่าในเมนู Preferences

บทที่ 5 จัดการบัญชีรายชื่อ Admin และสมาชิก

เว็บไซต์ของเราอาจจะมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลหลายคน และเปิดโอกาสให้ผู้ชมเว็บทั่วไปสมัครเป็นสมาชิก เพื่อแบ่งระดับสิทธิที่สมาชิกจะใช้บริการในเว็บไซต์ ให้เหนือกว่าผู้ชมทั่วไปในบางกรณี ดังนั้น PHP-Nuke จึงได้เตรียมเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและจัดการข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผู้ควบคุมและสมาชิกไว้ให้แล้ว

  • คลิกที่เมนู Edit Admins
  • เพิ่ม Administrator คนใหม่
  • แก้ไข-ลบข้อมูลของ Administrator
  • กระจายสิทธิให้แก่ Admin ตามขอบข่ายหน้าที่
  • ใช้สิทธิ Admin เพิ่ม-ลบ-แก้ไขสมาชิก
    • เพิ่มสมาชิกใหม่
    • แก้ไข-ลบข้อมูลสมาชิก
    • แก้ไข-ลบสมาชิกผ่านโมดูล Members List แทน
  • เพิ่มสมาชิกโดยผู้ชมลงทะเบียนสมัครเอง

บทที่ 6 ทดลองใช้บริการในฐานะสมาชิก

บทที่แล้วเราเพิ่งผ่านการลงทะเบียนเป็นสมาชิกเว็บไซต์สดๆ ร้อนๆ ฉะนั้นเราจะมาพิสูจน์กันดูว่า การเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ ทำให้มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ชมทั่วไปอย่างไรบ้าง โดยทดลองใช้บริการบางอย่างของเว็บไซต์ ผ่านทางเมนูที่เตรียมไว้สำหรับสมาชิกโดยเฉพาะ

  • มีเมนูอะไรให้สมาชิกใช้งานบ้าง
  • เมนู Your Info = แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • เมนู Your Home = กำหนดหน้าตาโฮมเพจหน้าแรก
  • เมนู Comments = เลือกลักษณะการแสดงคอมเมนต์
  • เมนู WebMail = ใช้บริการรับ-ส่งอีเมล
    • เริ่มต้นส่งอีเมล (Compose)
    • เปิดตู้รับจดหมาย (Mailbox)
    • ทดลองเช็กอีเมลจริงผ่านอินเทอร์เน็ต
    • สร้าง Address Book
    • เพิ่มรายชื่อใน Address Book
    • ค้นหารายชื่อบุคคลที่เราจะติดต่อ (Search Contact)
  • เมนู Journal = แบ่งปันความรู้แก่สมาชิก+ผู้ชม
    • ทดลองโพสต์ Journal
    • เปิดอ่าน Journal กันหน่อย
  • เมนู Themes = เปลี่ยนหน้ากากเว็บไซต์
  • บริการ My Headlines = เลือกอ่านข่าวเด็ด
  • บริการ Broadcast Public Message = กระจายข่าวป่าวประกาศ
  • บริการ Your Private Messages = ส่งข้อความเฉพาะบุคคล

บทที่ 7 สร้างเนื้อหาด้วยการโพสต์บทความ

PHP-Nuke ได้ชื่อว่าเป็นแอปพลิเคชันจำพวก Content Management System ดังนั้นการจัดการเนื้อหาหรือ Content ในเว็บไซต์ จึงเป็นหน้าที่สำคัญและเป็นจุดเด่นที่โดนใจนักสร้างเว็บทั้งหลาย ซึ่งนอกจากมีเมนูสำหรับให้ผู้ควบคุมโพสต์เนื้อหาโดยเฉพาะแล้ว ยังมีโมดูลสำหรับให้ผู้ชมทั่วไปโพสต์เนื้อหาอีกด้วย

  • อาศัย Topics แบ่งหมวดหรือหัวข้อบทความ
    • เพิ่มหัวข้อ
    • ลบ-แก้ไขหัวข้อ
  • Add Story โพสต์บทความใหม่โดยผู้ควบคุม
  • พ่วง Poll ไปกับบทความ
  • เปรียบเทียบการโพสต์แบบตั้งเวลาและไม่ตั้งเวลา
  • เพิ่มหมวดใหม่ใน Category และเปิดใช้ Categories Menu
  • ลบ-เปลี่ยนชื่อหมวดใน Category
  • ลบ-แก้ไขบทความที่โพสต์ไปแล้ว
  • Submit News เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือสมาชิกเสนอบทความ
  • ใช้ Submissions ตรวจบทความของผู้ชมหรือสมาชิก
  • สิ่งละอันพันละน้อยประกอบบทความ

บทที่ 8 เขียน Message เพื่อแสดงที่หน้าแรก

การทักทาย เป็นมารยาทสังคมอย่างหนึ่งที่พวกเรายึดถือปฏิบัติกันอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ผู้ถูกทักทายย่อมเกิดความรู้สึกในแง่บวก ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสนทนาวิสาสะกัน การแสดงคำทักทายผ่านทางหน้าแรกของเว็บไซต์ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่แสดงให้ผู้ชมเว็บรู้สึกว่า เว็บไซต์ของเราเปิดกว้างและยินดีที่เขาแวะเวียนมาเยี่ยมชม

  • เมนู Message เพื่อ Message
  • เพิ่ม Message ใหม่ที่จะแสดงในหน้าแรก
  • ลบ-แก้ไข Message ได้ตลอด

บทที่ 9 Module สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน

โดยเนื้อแท้แล้ว PHP-Nuke เป็นระบบ Content Management System ที่ประกอบขึ้นจากโมดูลย่อยๆ มากมาย และในฐานะที่เป็นซอฟต์แวร์ Open Source การพัฒนา PHP-Nuke จึงสามารถทำได้ด้วยการพัฒนาโมดูลใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้าไป ในบทนี้เราจะเข้าไปสำรวจดูโมดูลต่างๆ ใน PHP-Nuke และทำความเข้าใจวิธีการจัดการโมดูลเหล่านั้น

  • Module กับ Addon เพิ่มพลัง PHP-Nuke
  • เมนู Modules ช่วยจัดการ Module ต่างๆ
  • เพิ่ม Module ใหม่ ลบ Module เก่า
  • แก้ไขอะไรเกี่ยวกับ Module ได้บ้าง
  • Activate และ Deactivate เพื่อเปิด-ปิดการใช้งาน
  • เปลี่ยน Default Home Page Module
  • ตัวอย่างการใช้งานโมดูลต่างๆ ที่ไม่ได้แสดงในบทอื่นๆ
    • โมดูล AvantGo
    • โมดูล Feedback
    • โมดูล Recommend Us
    • โมดูล Search
    • โมดูล Statistics
    • โมดูล Stories Archive
    • โมดูล Top 10
    • โมดูล Topics

บทที่ 10 สร้าง Block ใช้ Block ให้คุ้มค่า

บล็อกใน PHP-Nuke แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ HTML, File และ RSS/RDF ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละประเภทย่อมมีข้อแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของคุณลักษณะและจุดประสงค์การนำไปใช้งาน สำหรับเนื้อหาในบทนี้นอกจากเราจะได้รู้จักบล็อกทั้ง 3 ประเภทอย่างละเอียดแล้ว ยังจะได้เรียนรู้วิธีจัดการบล็อกด้วย

  • เมนู Blocks เพื่อจัดการบล็อก
  • สร้าง Block ใหม่เพิ่มได้ไม่อั้น
    • บล็อกประเภท HTML
    • บล็อกประเภท File
    • บล็อกประเภท RSS/RDF
  • ทดลองใช้ฟังก์ชันจัดการ Block
    • แก้ไขบล็อกด้วย Edit
    • เปิด-ปิดบล็อกด้วย Activate กับ Deactivate
    • ลบบล็อกด้วยลิงก์ Delete
    • แอบยลโฉมบล็อกที่ยังไม่เปิดใช้ ด้วย Show

บทที่ 11 เปิดบริการดาวน์โหลดแบบไม่จำกัด

บริการอย่างหนึ่งที่เราพบเห็นได้จากเว็บไซต์ทั่วๆ ไป คือการให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ บางแห่งอาจมีไฟล์ให้ดาวน์โหลดมาก บางแห่งก็มีให้ดาวน์โหลดน้อย แล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละเว็บไซต์ ระบบ PHP-Nuke จึงได้เตรียมเครื่องมือให้เราสร้างเว็บเพจเพื่อให้บริการดาวน์โหลดด้วย

  • แยกหมวดเพื่อจัดระเบียบลิงก์ดาวน์โหลด
  • เมนู Downloads สำหรับจัดการลิงก์ดาวน์โหลด
  • สร้างหมวดหลักก่อน ด้วย Add a MAIN Category
  • แล้วใช้ Add a SUB-Category สร้างหมวดย่อย
  • ทำลิงก์ดาวน์โหลดได้ 2 แบบ
  • แก้ไขข้อมูลโดยตรง+ตรวจสอบลิงก์
  • แก้ไขข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม Request Download Modification ก็ได้
  • เปลี่ยนชื่อหรือลบหมวด ด้วย Modify a Category
  • โยกย้ายลิงก์จากหมวดหนึ่งไปหมวดอื่นได้เสรี
  • เปิดกว้างให้ผู้ชมแนะนำลิงก์เพื่อดาวน์โหลด
  • รับคะแนนโหวต+ข้อเสนอแนะจากผู้ชม
  • Report Broken Link ลิงก์ไหนเสียยกมือขึ้น
  • ผู้ควบคุมก็แสดงความคิดเห็นได้เหมือนกับผู้ชม
  • ลดเวลาค้นหาลิงก์โดยใช้ Search

บทที่ 12 ดึงดูดคนเข้าเว็บด้วยระบบ Forum

ใครไม่รู้จัก Forum ก็ขอให้นึกถึง Webboard ตามเว็บไซต์ดังๆ อย่าง pantip.com เพราะ Forum ก็คือ Webboard นั่นเอง แต่มีคุณลักษณะเหนือกว่า มีระบบควบคุมดูแลที่มีประสิทธิภาพมากกว่า มีโครงสร้างซับซ้อนกว่า แต่เป็นระบบระเบียบชัดเจนกว่า พูดง่ายๆ คือ เป็น Webboard ที่เหนือกว่า Webboard ธรรมดา

  • เมนู Forums ดูแลฟอรัมแบบเบ็ดเสร็จ
  • เริ่มต้นด้วยเมนูย่อย Preference
  • ต่อด้วยเมนูย่อย Forum
    • สร้างหมวดก่อนแล้วจึงสร้างฟอรัม
    • แก้ไขค่าและแต่งตั้ง-ถอดถอน Moderator
  • ประกาศเกียรติคุณด้วย Ranks
    • ตั้งเงื่อนไขเพื่อกำหนด Rank ใหม่
    • แก้ไขและลบ Rank
  • จัดการกับยูสเซอร์ (ได้หรือเปล่า?)
  • ทดลองตั้งกระทู้+ตอบกระทู้
  • Moderator มีบทบาทและอำนาจมากแค่ไหน
    • ล็อกกระทู้ไม่ให้ใครโพสต์คำตอบอีก
    • โยกย้ายกระทู้ไปอยู่ฟอรัมอื่น
    • เห็นท่าไม่ดี ลบกระทู้เลยดีกว่า
    • หาต้นตอว่าโพสต์มาจากไหน

บทที่ 13 พัฒนาบริการคลังข้อมูลเลียนแบบสารานุกรม

คลังข้อมูลในเว็บไซต์ของเรา ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลครบทุกอย่างแบบครอบจักรวาล เหมือนกับสารานุกรมหรือ Encyclopedia ของจริง เพราะเราสามารถประยุกต์ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะด้านก็ได้ เช่น เป็นศูนย์รวมเนื้อเพลง, ประวัติคนดัง, ข้อมูลเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ฯลฯ แล้วแต่จะพลิกแพลงให้เหมาะสมกับคอนเซ็ปต์ของเว็บไซต์

  • เมนู Encyclopedia เพื่อสร้างบริการแบบสารานุกรม
  • สร้างหมวดด้วย Add a New Encyclopedia ก่อน
  • ต่อด้วย Add a New Encyclopedia Term เพื่อเพิ่มคำศัพท์
  • จะแก้ไข-ลบคำศัพท์ ต้องใช้ลิงก์ Edit ของหมวด
  • ย้ายศัพท์ทั้งหมวดด้วย Move Terms
  • ทดลองใช้บริการ Encyclopedia จริง
  • ใช้ Search หาคำศัพท์ภาษาไทยได้สบาย

บทที่ 14 5 เมนูที่ใช้ง่ายแต่ได้ประโยชน์เต็มๆ

2 เมนูในบทนี้ คือ Backup DB และ Optimize DB อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่บ้าง เพราะเป็นเมนูสำหรับการเก็บสำรองข้อมูลและการลดขนาดพื้นที่เก็บข้อมูลให้คุ้มค่า แต่อีก 3 เมนูที่เหลือไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย แล้วทำไมถึงรวบหัวรวบหางมาอยู่ในบทเดียวกันอย่างนี้ล่ะ ?

  • กันเหนียวไว้ก่อน ต้องสำรองข้อมูลด้วย Backup DB
    • สิ่งที่ต้องรู้ในการแบ็กอัปข้อมูล
    • ร่ายมนต์กู้ฐานข้อมูลกลับมา
  • Ephemerids บริการข้อมูลตามแนวคิด "วันนี้ในอดีต"
  • บันทึก HTTP Referers เพื่อหาต้นตอว่าผู้ชมมาจากไหน
  • แจ้งข่าวแก่สมาชิกผ่านทาง Newsletter
  • Optimize DB เพื่อประหยัดพื้นที่เก็บข้อมูล

บทที่ 15 ตอบข้อสงสัยผ่าน FAQ และขอเสียงโหวตผ่านโพลล์

บทที่แล้วแนะนำไปหลายเมนูพร้อมๆ กันอย่างออกรสจนชักติดใจ บทนี้จึงเดินตามรอยอีกครั้ง แต่ขออธิบายควบแค่ 2 เมนูก็พอ คือ FAQ และ Survey/Polls เพราะเป็นเมนูที่ต้องแสดงวิธีการทำงานให้ดูอย่างละเอียดสักหน่อย (ตามเคย) ทุกขั้นตอน เวลาเอาไปใช้งานจริงจะได้ไม่มีอะไรติดขัด

  • รวบรวมข้อมูลที่คนอยากรู้ไว้ที่ FAQ
    • ตั้งหมวดคำถาม-คำตอบใหม่
    • เพิ่มคำถาม-คำตอบเข้าไปในหมวด
    • แก้ไขและลบคำถาม-คำตอบ
  • เตรียมโพลล์จากเมนู Surveys/Polls
    • เริ่มสร้างโพลล์ใหม่
    • ลบโพลล์-แก้ไขโพลล์

บทที่ 16 เติมเนื้อหาให้เต็มเว็บไซต์

วิธีการใส่เนื้อหาในลักษณะบทความเข้าไปในเว็บไซต์ มิได้มีแค่เมนู Add Story (สำหรับ Admin) และเมนู Submit News (สำหรับผู้ชมทั่วไป) เท่านั้น ยังมีอีก 3 เมนูที่จะมาแนะนำกันในบทนี้ ให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย ซึ่งดูคล้ายกับเมนู Add Story แต่จริงๆ แล้วไม่เหมือนกันเสียทีเดียว

  • ใช้เมนู Sections เพิ่มความหลากหลายของเนื้อหา
    • ต้องเพิ่ม Section ใหม่ตามระเบียบ
    • แล้วถึงจะเพิ่มบทความใหม่ใน Section ได้
    • ลบ-แก้ไขบทความใน Section
    • ลองเปิดอ่านในฐานะผู้ชมทั่วไป
  • เปิดเวทีวิจารณ์ผ่านเมนู Reviews
    • มีอะไรให้ทำบ้างเมื่อเปิดเมนู Reviews
    • ตั้งชื่อหัวข้อวิจารณ์ใน Reviews Page Title
    • ผู้ควบคุมจะวิจารณ์ผสมโรงก็ได้
    • แวะอ่าน Review หน่อยเป็นไร
    • แสดงทรรศนะตามสายตาของผู้ชม
    • แก้ไขหรือลบบทวิจารณ์
  • เมนู Content เป็นอีกทางเลือกที่น่าลอง
    • เพิ่ม-ลบ-แก้ไข Category
    • เขียนบทความใหม่ด้วย Add a New Page
    • ผู้ชมจะเห็น Content อย่างไร

บทที่ 17 สร้างเว็บเพจรวมลิงก์แบบ portal site

ความสามารถในการสร้างเว็บเพจรวมลิงก์ ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับ PHP-Nuke เลย แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ฟังก์ชันการทำงานย่อยๆ อันเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เว็บเพจรวมลิงก์มีความสมบูรณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบและการรายงานลิงก์เสีย, การรายงานให้แก้ไขลิงก์ที่มีข้อมูลไม่ถูกต้อง รวมทั้งการเก็บสถิติจำนวนครั้งที่ผู้ชมคลิกแต่ละลิงก์

  • เข้าสู่เมนู Web Links
  • ต้องสร้างหมวดหลักขึ้นมาก่อน
  • ต่อด้วยการสร้างหมวดย่อย
  • มาสร้างเว็บลิงก์ได้แล้ว
  • แนะนำวิธีลบ-แก้ไขหมวดหลักและหมวดย่อย
  • ทดลองลบ-แก้ไขเว็บลิงก์ดูบ้าง
  • ชิงลงมือวิจารณ์ก่อนย่อมได้เปรียบ
  • อพยพเว็บลิงก์จากหมวดเดิมไปยังหมวดอื่น
  • ลองใช้งานโมดูล Web Links ในฐานะสมาชิกและผู้ชมเว็บ
  • ลงคะแนนโหวตให้เว็บลิงก์
  • รายงานเว็บลิงก์เสีย
  • request เพื่อแก้ไขข้อมูลเว็บลิงก์ให้ถูกต้อง
  • ตรวจสอบเว็บลิงก์ให้ทันใจกับ Validate Links
  • เก็บตกเครื่องมือสารพัดประโยชน์

บทที่ 18 ควบคุมจัดการแบนเนอร์แบบไม่ต้องเหนื่อย

การหารายได้จากแบนเนอร์ เป็นเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่มุ่งหวัง แต่การนำแบนเนอร์มาแสดงในเว็บไซต์ ย่อมเป็นภาระจุกจิกไม่น้อยสำหรับผู้ควบคุมดูแลเว็บ ถ้าไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องหมุนเวียนแสดงแบนเนอร์ให้ครบตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับลูกค้า และสามารถตรวจสอบความถูกต้องด้วย

  • เริ่มต้นที่เมนู Banners
  • ต้องเพิ่มข้อมูลลูกค้าหน้าใหม่ก่อน
  • แล้วป้อนรายละเอียดเกี่ยวกับแบนเนอร์
  • ย้ายตำแหน่งแสดงแบนเนอร์อย่างอิสระ
  • ลูกค้าเช็กสถิติของแบนเนอร์ได้ตลอดเวลา
  • จบเมนูสุดท้ายแล้ว แต่การพลิกแพลงยังไม่จบ

ภาคผนวก ก ไขปัญหาเรื่องภาษาและ Multilingual

  • บุคคล 3 ฝ่าย 3 บทบาท
  • ยกตัวอย่างให้เห็นจริง
  • แบบ Multilingual กับแบบที่ไม่ใช่ Multilingual
  • เปลี่ยนภาษาของอินเทอร์เฟซตามบล็อก Languages
  • ข้อควรระวังเมื่อเปลี่ยนเว็บไซต์เป็นแบบ Multilingual

ภาคผนวก ข ตารางต่างๆใน PHP-Nuke 6.0

ภาคผนวก ค ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ PHP-Nuke อย่างเป็นทางการ

  • ชุมชนคนนิยม Nuke
  • อเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • ยุโรป
  • ตะวันออกกลาง
  • อัฟริกา
  • เอเชียแปซิฟิก
  • โอเชียเนีย
  • ประเทศไทย

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 1996-2004, Witty Group Co., Ltd.