หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง
ควรรู้อะไรมาบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้
ต้องมีอะไรบ้างเพื่อทำตามตัวอย่างในหนังสือ
บทที่ 1 ยลโฉมร้านค้าออนไลน์ที่ใช้ Joomla! + VirtueMart สำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้จัก Joomla! และ VirtueMart มาก่อน บทแรกนี้ผมขอพาคุณไปรู้จักว่า Joomla! คืออะไร และ VirtueMart คืออะไร ทำไม Joomla! กับ VirtueMart ถึงต้องอยู่คู่กัน แล้วคุณยังจะได้เห็นตัวอย่างหน้าตาและความสามารถของร้านค้าออนไลน์ที่สร้างจาก Joomla! + VirtueMart กันแบบเต็มๆ ด้วย
บทที่ 2 วางแผนก่อนเปิดร้านออนไลน์ด้วย Joomla! + VirtueMart การเปิดร้านค้าออนไลน์มีความเสี่ยงต่ำกว่าการเปิดร้านค้าจริงๆ เพราะใช้ทุนน้อยกว่าเยอะ โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่ แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนคิดจะเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมา เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องเรียนรู้และเตรียมความพร้อมของตัวเองครับ
บทที่ 3 ลงมือติดตั้ง Joomla! กันเลย การสร้างเว็บโดยใช้ Joomla! ถือเป็นช่องทางสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายมากๆ ครับ เสียเวลาทำโน่นทำนี่ไม่กี่ขั้นตอน เราก็มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแล้ว บทนี้ผมจะพาคุณไปดูว่า เราต้องทำยังไงกันบ้างถึงจะสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla! ขึ้นมาได้ ผมจะอธิบายแบบละเอียดให้คุณทำตามไปทีละสเต็ปเลย
บทที่ 4 จัดการ Content ของ Joomla! ให้เป็น องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ Joomla! คือคอนเทนต์ (Content) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความ (Article) , บทความแนะนำ (Feature Article), แคเทอกอรี (Category) หรือบรรดาไฟล์มีเดีย (Media File) สำหรับใช้ประกอบบทความทั้งหลาย ถ้าเราจัดการกับคอนเทนต์เหล่านี้ไม่เป็น เราก็พัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นรูปเป็นร่างไม่ได้แน่ๆ
บทที่ 5 ใช้ Menu เชื่อมโยงทุกองค์ประกอบใน Joomla! เมนู (Menu) เป็นเครื่องมือที่เราใช้สำหรับเชื่อมโยงจากโฮมเพจของเว็บไซต์ไปสู่องค์ประกอบอื่นๆ เช่น บทความ, แคเทอกอรี, คอมโพเนนต์ (Component) ต่างๆ ฯลฯ เมนูใน Joomla! มีหลายเมนู แต่ละเมนูก็มีเมนูไอเท็ม (Menu Item) ย่อยอยู่ภายในอีกที ถ้าอยากเข้าใจวิธีจัดการกับเมนูและเมนูไอเท็มทั้งหลาย คุณต้องอ่านบทนี้ครับ
บทที่ 6 ใช้งาน Component ให้คล่องมือ คอมโพเนนต์ (Component) จัดเป็นเอ็กซ์เทนชัน (Extension) หรือโปรแกรมเสริม/ส่วนเสริมประเภทหนึ่งในระบบ Joomla! แล้วก็เป็นเอ็กซ์เทนชันประเภทที่สำคัญที่สุด มีการทำงานซับซ้อนที่สุด อีกทั้งยังมีความเกี่ยวพันกับเอ็กซ์เทนชันประเภทอื่นๆ อีกไม่มากก็น้อย ถ้าใช้งานคอมโพเนนต์ต่างๆ ไม่เป็น เราก็คงใช้งาน Joomla! ได้ไม่เต็มที่จริงมั้ยล่ะ
บทที่ 7 ทำงานกับ Extension ให้มัน (ส์) มือ บทนี้มาว่ากันด้วยเรื่องเอ็กซ์เทนชันของ Joomla! กับแบบเต็มๆ (หลังจากที่เรารู้จักเอ็กซ์เทนชันประเภทคอมโพเนนต์ไปแล้วในบทก่อนหน้านี้) คุณจะได้เรียนรู้ว่ามีเอ็กซ์เทนชันประเภทไหนบ้างที่ทำงานอยู่ในระบบ Joomla! แต่ละประเภทมีหน้าที่อะไร และเราจะจัดการกับเอ็กซ์เทนชันเหล่านี้ได้ยังไงบ้าง
บทที่ 8 จัดการระบบ User ใน Joomla! Joomla! เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่รองรับผู้ใช้งานหรือยูสเซอร์ (User) พร้อมกันหลายๆ คน กรณีที่เราดูแลเว็บไซต์แค่คนเดียว การจัดการยูสเซอร์คงไม่มีความจำเป็นนัก แต่ถ้ามีคนช่วยพัฒนาเว็บไซต์ของเราหลายคน เช่นว่า มีหุ้นส่วนที่ร่วมกันเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมา เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับยูสเซอร์ใน Joomla! ครับ
บทที่ 9 ติดตั้งระบบร้านค้าออนไลน์ด้วย VirtueMart เอาละครับ ถึงเวลาที่เว็บไซต์ Joomla! ของเราจะแปลงร่างเป็นร้านค้าออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะเรากำลังจะติดตั้ง VirtueMart (ซึ่งเป็นเอ็กซ์เทนชันตัวหนึ่ง) ให้ Joomla! กัน แล้วคุณจะเห็นว่าเว็บไซต์ธรรมดาๆ ของคุณจะกลายเป็นระบบร้านค้าออนไลน์ที่ครบวงจรและใช้ทำเงินได้จริง
บทที่ 10 เริ่มจัดการสินค้าใน VirtueMart ติดตั้ง VirtueMart กันแล้ว ก็ต้องมาเริ่มจัดการกับสินค้าต่างๆ ที่เราจะวางขายในร้านค้าออนไลน์ เรื่องการจัดการสินค้านี้มีรายละเอียดและประเด็นปลีกย่อยให้พูดถึงเยอะเลยครับ ทั้งการสร้างหมวดหมู่ของสินค้า, การตั้งค่าให้สินค้า, การสร้างแบบฟอร์มหรือช่องสำหรับกรอกข้อมูลเพิ่มเติม, การกำหนดอัตราภาษี ฯลฯ ผมจะพูดไล่เรียงไปทีละเรื่องให้ครบถ้วนเลย
บทที่ 11 จัดการกับร้านค้าและผู้ผลิตสินค้า บทนี้เราจะมาดูวิธีจัดการร้านค้าหรือการกำหนดข้อมูลต่างๆ ให้ร้านค้าออนไลน์, การจัดการไฟล์มีเดีย (Media File) หรือพวกรูปภาพสินค้าที่ใช้ประกอบการขาย, การกำหนดวิธีจัดส่งสินค้า, การกำหนดวิธีชำระค่าสินค้า ไล่ไปจนถึงการจัดการรายชื่อและแคเทอกอรีของผู้ผลิตสินค้าครับ
บทที่ 12 จัดการ Order และรายชื่อลูกค้า เมื่อเราสร้างร้านค้าขึ้นมาแล้ว อีกทั้งเพิ่มสินค้าต่างๆ เข้าสู่ระบบของร้านค้าแล้ว ไม่นานเกินรอเดี๋ยวก็ต้องมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้า หรือที่เรียกกันว่ามี ออเดอร์ (Order) บทนี้เราจะมาดูวิธีจัดการกับออเดอร์สินค้า ตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การจัดการกับรายชื่อลูกค้า หรือการจัดการคูปองส่วนลดครับ
บทที่ 13 ตั้งค่า Configuration สารพัดให้ VirtueMart VirtueMart เป็นแค่เอ็กซ์เทนชันของ Joomla! แต่มันก็เป็นระบบร้านค้าออนไลน์ที่มีการทำงานซับซ้อน มีอะไรต่อมิอะไรให้ปรับแต่งตั้งค่ามากมาย แล้วเราก็สามารถตั้งค่า Configuration เพื่อกำหนดโครงสร้างการทำงานให้ VirtueMart ได้ในทำนองเดียวกับ Joomla! นั่นเอง ไปดูรายละเอียดในบทนี้กันว่า เราตั้งค่า Configuration อะไรให้ VirtueMart ได้บ้าง และค่า Configuration พวกนี้มีประโยชน์ตรงไหน
บทที่ 14 เปลี่ยน Template ให้ VirtueMart ร้านค้าออนไลน์จะขายดิบขายดีได้ นอกจากสินค้าในร้านต้องน่าสนใจแล้ว รูปร่างหน้าตาของร้านต้องสวยงามดูดีด้วย ไม่ใช่คลิกเข้าไปแล้วดูน่ากลัวเหมือนเว็บผีสิง หรือดูรกรุงรังจนมองหาสินค้าที่ต้องการซื้อไม่เจอ บทนี้เราจะไปว่ากันด้วยเรื่องการเปลี่ยนเทมเพลต (Template) ให้ร้านค้าออนไลน์ เพื่อให้ร้านค้าของเรามีหน้าตาสวยงาม ใครเห็นก็อยากช็อป
บทที่ 15 วิเคราะห์สินค้า วิเคราะห์ Keyword เพื่อ SEO เรื่อง คีย์เวิร์ด (Keyword) เป็นเรื่องแรกที่เราต้องคำนึงถึงก่อนคิดจะทำ SEO เพราะถ้าเราหาคีย์เวิร์ดไม่เป็น หรือไปเลือกคีย์เวิร์ดไม่ดีมาทำ SEO เราก็คงมีโอกาสประสบความสำเร็จกับการทำ SEO ได้น้อยเต็มที หรือต่อให้ทำ SEO ได้สำเร็จ มีคนคลิกเข้ามาในร้านมากมาย แต่ก็อาจมีคนซื้อสินค้าน้อย ฉะนั้นแล้วก่อนจะทำSEO เราต้องวิเคราะห์สินค้าและวิเคราะห์คีย์เวิร์ดให้เป็นครับ
บทที่ 16 ลงมือทำ SEO ให้ร้านค้าออนไลน์ บทสุดท้ายนี้เราจะมาลงมือทำ SEO ให้ร้านค้าออนไลน์กัน โดยจะเน้นไปที่การปรับแต่งระบบ VirtueMart เพื่อผลลัพธ์ในด้าน SEO แล้วคุณจะพบความจริง ว่า ยังมีเทคนิคการทำ SEO ให้ร้านค้าออนไลน์ที่สร้างจาก Joomla! + VirtueMart ซึ่งคุณยังไม่รู้อีกเยอะ เทคนิคพวกนี้จะช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าของคุณได้ไม่มากก็น้อยแน่นอน
|
||||
Copyrights © 2006-3006, Witty Group Co., Ltd. |