ครบถ้วนทั้ง 10.1, 8.9, 7.7 และ 7.0 Plus พร้อมการเชื่อมต่อ 3G + Wi-Fi
- จัดให้ ท่องโลกออนไลน์ไร้ขีดจำกัดด้วย Browser สะดวกสบายกว่าใช้กับเครื่องพีซี
- จัดการ งานเอกสารให้ลุล่วงได้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ด้วย Polaris Office
- จัดหนัก บริการจาก Google ทั้ง Gmail, Talk, Maps, Latitude, Places และ Contacts
- จัดเต็ม กับการดูหนัง Hi-Def ที่มีความละเอียดสูงระดับ Full HD บนหน้าจอขนาดใหญ่
- จัดเพียบ แนะนำแอป+เกมจาก Google Play ไม่อั้น อย่าง Instagram, Line, Facebook, TweetCaster ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่สนใจหรือกำลังหาคู่มือการใช้งาน Samsung Galaxy Tab 10.1, 8.9, 7.7 หรือ 7.0 Plus
- ผู้ที่ต้องการศึกษาการทำงานของแท็บเล็ตพีซีซึ่งใช้ระบบ Android เวอร์ชัน 3.x
ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้
- ไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคอะไรเลย แค่มีความสนใจที่จะศึกษาหรือใช้งาน Samsung Galaxy Tab 10.1 ให้ได้คุ้มค่าก็พอ ส่วนที่เหลือ ...หนังสือเล่มนี้จะช่วยคุณเอง
ต้องมีอะไรบ้าง เพื่อทดลองใช้งานตามที่อธิบายในหนังสือเล่มนี้
- มีเครื่องแท็บเล็ต Samsung Galaxy Tab 10.1, 8.9, 7.7 หรือ 7.0 Plus
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi, EDGE หรือ 3G
บทที่ 1 แนะนำ Samsung Galaxy Tab
Samsung Galaxy Tab เป็นแท็บเล็ตซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เพราะไม่เพียงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แท็บเล็ตตระกูล Android เท่านั้น Samsung ยังผลิตหน้าจอ Galaxy หลากหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่ 7.0 นิ้ว, 7.7 นิ้ว, 8.9 นิ้ว และ 10.1 นิ้ว
- มีอะไรเด่นใน Galaxy Tab
- รู้จัก Android 3.0 Honeycomb
- ส่วนประกอบต่างๆ ของ Galaxy Tab 10.1
- สเป็กเครื่อง Galaxy Tab 10.1
- สเป็กเครื่อง Galaxy Tab 8.9
- สเป็กเครื่อง Galaxy Tab 7.0 Plus
- สเป็กเครื่อง Galaxy Tab 7.7
บทที่ 2 การเลือกใช้บริการ 3G
แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ถึงการให้บริการ 3G มากขึ้นว่าครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ในหลายๆ จุด และกำลังขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่พบปัญหาว่าไม่สามารถรับสัญญาณได้ในบางพื้นที่หรือสัญญาณไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่อการใช้งาน ผู้ใช้จึงควรศึกษาเกี่ยวกับ 3G และตรวจสอบการให้บริการให้ดีเสียก่อน
- 3G คืออะไร
- สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ 3G
- อุปกรณ์รองรับ 3G ความถี่ใด
- ตรวจสอบพื้นที่ให้บริการ
- คำนวณปริมาณการใช้งาน
- รู้จักผู้ให้บริการ 3G ในเมืองไทย
บทที่ 3 การใช้งานเบื้องต้น
การศึกษาวิธีใช้งานเบื้องต้น นอกจากทำให้เราคุ้นเคยกับอุปกรณ์หรือ Galaxy Tab แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถจัดการและเข้าถึงการใช้งานส่วนต่างๆ รวมถึงแอปพลิเคชันของเครื่องได้คล่องตัวมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้อุปกรณ์ที่ทำงานภายใต้ระบบ Android มาก่อน
- ใส่ SIM Card ยังไง
- เปิดเครื่องใช้งานครั้งแรก
- การเปิด-ปิดเครื่อง และปลดล็อกหน้าจอ
- ส่วนประกอบของหน้าจอหลัก (Home Screen)
- ปุ่มควบคุมพื้นฐานบนหน้าจอ
- รายการ Mini Apps
- แถบสถานะการเตือน
- การใช้งานทัชสกรีน
- เพิ่มวิดเจ็ตหรือชอร์ตคัตของแอปในหน้าจอหลัก
- ปรับขนาดวิดเจ็ต
- ย้ายตำแหน่งวิดเจ็ตและชอร์ตคัต
- ลบวิดเจ็ตและชอร์ตคัต
- เปลี่ยนวอลล์เปเปอร์
- ไปยังหน้าแอปพลิเคชันและเกม
- ดูข้อมูลแอปพลิเคชัน
- ถอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน
- สร้างชอร์ตคัตของแอปไปยังหน้าจอหลัก
- สลับการใช้งานแอปพลิเคชัน
- การใช้งานคีย์บอร์ด
- แป้นพิมพ์ของ Android
- พิมพ์ภาษาจีนด้วย DioPen Chinese
- คีย์บอร์ดของ Samsung
- คีย์บอร์ดแบบ Swype
- คัดลอก, ตัด และวางข้อความ
- ตั้งค่าการใช้งานที่สำคัญๆ ในการใช้งานครั้งแรก
- ตั้งค่าวันที่และเวลา
- ตั้งค่าภาษาของเครื่อง
- เปิด-ปิดการใช้งาน Wi-Fi
- ปรับความสว่างหน้าจอ
- ตั้งเวลาพักหน้าจอ
- ปรับระดับความดังเสียงเตือนต่างๆ
- เลือกเสียงเตือน Notifications
- ดูข้อมูลทั่วไปของเครื่อง
บทที่ 4 จัดการรายชื่อผู้ติดต่อ
ถ้ามีข้อมูลผู้ติดต่ออยู่ใน SIM Card หรือ Google Contacts เราสามารถดึงมาเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้ทันที และยังสามารถเพิ่มข้อมูลผู้ติดต่อได้อย่างครบถ้วน ทั้งเบอร์ติดต่อ, ที่อยู่, อีเมล, เว็บไซต์ ฯลฯ และไม่เพียงเท่านั้น แอป Contacts ใน Galaxy Tab ยังมีความสามารถเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลผู้ติดต่ออีกหลายอย่างที่น่าสนใจ
- นำเข้ารายชื่อจากไฟล์ vCard ในหน่วยความจำเครื่อง
- คัดลอกรายชื่อจาก SIM Card
- จัดเก็บรายชื่อไปยัง SD Card หรือ SIM Card
- เปิดดูรายชื่อใน Contacts
- เลือกรายชื่อที่ต้องการให้แสดง
- สร้างรายชื่อใหม่
- แก้ไข-เพิ่มเติมข้อมูลผู้ติดต่อ
- ซิงค์รายชื่อกับ Gmail
- รวมรายชื่อที่ซ้ำหรือเกี่ยวข้องกัน
- สร้างกลุ่มผู้ติดต่อ
- สร้างกลุ่มใหม่
- แก้ไขชื่อกลุ่ม
- เพิ่มผู้ติดต่อเข้ากลุ่ม
- ลบกลุ่มที่สร้างขึ้น
- สร้างชื่อโปรด
- ส่งอีเมลหรือข้อความถึงผู้ติดต่อ
- สร้างชอร์ตคัตรายชื่อที่หน้าจอหลัก
- จัดการโพรไฟล์ของเราเอง
บทที่ 5 เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, บลูทูธ, คอมพิวเตอร์ และ AllShare
Galaxy Tab สามารถเชื่อมต่อไร้สายได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือการเชื่อมต่อเพื่อแชร์ไฟล์กับอุปกรณ์อื่นก็ตาม โดยเราสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งเครือข่าย 3G, Wi-Fi, บลูทูธ รวมไปถึงเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี DLNA ผ่านทางแอป AllShare ที่ทำให้เราสามารถเปิดไฟล์มัลติมีเดียในอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงควบคุมการเล่นไฟล์ได้อย่างสะดวกง่ายดาย
- เปิด-ปิดสัญญาณวิทยุ (Flight mode)
- เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS/EDGE/3G
- เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi
- เปิด-ปิดการใช้งาน Wi-Fi
- เชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi
- เปิดการแจ้งเตือนเมื่อพบ Wi-Fi ที่ไม่ได้เข้ารหัส
- เพิ่มเครือข่าย Wi-Fi ด้วยตัวเอง
- ลบเครือข่าย Wi-Fi
- ใช้ Galaxy Tab แชร์สัญญาณ Wi-Fi
- แชร์ Wi-Fi ผ่านสาย USB
- แชร์ Wi-Fi แบบไร้สาย
- เชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านบลูทูธ
- เปิด-ปิดการใช้งานบลูทูธ
- ค้นหาและจับคู่อุปกรณ์บลูทูธ
- เปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ที่จับคู่
- ยกเลิกการจับคู่อุปกรณ์บลูทูธ
- ส่งไฟล์ให้อุปกรณ์อื่นผ่านบลูทูธ
- รับไฟล์จากอุปกรณ์อื่นผ่านบลูทูธ
- ตั้งค่าบลูทูธ
- เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบแฟลชไดรฟ์
- เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่าน Samsung Kies
- เชื่อมต่อ Kies ผ่านสาย USB
- เชื่อมต่อผ่าน Kies via Wi-Fi
- ดาวน์โหลดและติดตั้ง Samsung Kies
- อัปเฟิร์มแวร์ Galaxy Tab เป็น 3.2
- เชื่อมต่อแชร์ไฟล์ผ่าน AllShare
- เชื่อมต่อเพื่อแชร์และเล่นไฟล์ (DMS/DMP)
- ควบคุมการเล่นไฟล์บนอุปกรณ์อื่น (DMC)
- ดาวน์โหลดไฟล์เก็บไว้ในเครื่อง
- ดาวน์โหลดโปรแกรม AllShare ติดตั้งบนพีซี
บทที่ 6 กล้องถ่ายภาพและวิดีโอ
กล้องถ่ายภาพและวิดีโอใช้งานง่ายมาก มีฟังก์ชันการถ่ายภาพให้ปรับตั้งค่าระดับหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะบันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ ในหลากหลายลักษณะได้ตามอัธยาศัย โดยเราสามารถเปิดดูไฟล์ภาพและไฟล์วิดีโอได้อย่างสะดวกผ่านแอป Gallery ซึ่งจัดแสดงภาพไว้เป็นหมวดหมู่ตามแหล่งที่มา
- ถ่ายภาพด้วย Galaxy Tab
- เปิดกล้องกดชัตเตอร์
- สลับการใช้กล้องหลัง-กล้องหน้า
- ใช้งานแฟลช
- ตั้งเวลาถ่ายภาพ
- ตั้งค่าการรับแสง
- สลับจากกล้องถ่ายวิดีโอเป็นกล้องถ่ายภาพ
- ตั้งค่าการใช้งานกล้องถ่ายภาพ
- ถ่ายวิดีโอด้วย Galaxy Tab
- เปิดกล้องกดปุ่มบันทึกวิดีโอ
- สลับการใช้กล้องหลัง-กล้องหน้า
- เลือกโหมดการถ่ายวิดีโอ
- ตั้งเวลาถ่ายวิดีโอ
- ตั้งค่าการรับแสง
- ตั้งค่าการใช้งานกล้องวิดีโอ
- เปิดดูและจัดการภาพหรือวิดีโอ
- เปิดดูภาพและวิดีโอใน Gallery
- การแสดงผลใน Gallery
- จัดการกับภาพที่เปิดดู
บทที่ 7 ดูวิดีโอและฟังเพลง
ทั้งเครื่องฟังเพลง (Music) และเครื่องเล่นวิดีโอ (Video) รองรับไฟล์ได้หลายฟอร์แมต บวกกับการที่เราสามารถแชร์หรือดึงไฟล์จากอุปกรณ์อื่นได้อย่างสะดวก ทำให้การดูหนังฟังเพลงด้วย Galaxy Tab เป็นเรื่องง่าย และเปิดเล่นได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ อีกทั้งแอปดูหนังและฟังเพลงยังมีคุณสมบัติในการควบคุมหรือจัดการไฟล์ได้ดีอีกด้วย
- ดูวิดีโอบน Galaxy Tab
- มุมมองแสดงรายการวิดีโอ
- ปุ่มควบคุมต่างๆ บนหน้าจอวิดีโอ
- บุ๊กมาร์กวิดีโอ
- ลบวิดีโอ
- ฟังเพลงบน Galaxy Tab
- เลือกดูเพลงตามเมนู
- ค้นหาเพลงที่ต้องการ
- ควบคุมการเล่นเพลง
- ฟังเพลงพร้อมกับใช้งานแอปพลิเคชันอื่น
- สร้างเพลย์ลิสต์ใหม่
- เพิ่มเพลงเข้าเพลย์ลิสต์
- ลบเพลงออกจากเพลย์ลิสต์
- ลบเพลย์ลิสต์
- ปรับแต่งเสียง
- เพิ่ม-ลบเมนูเพลง
บทที่ 8 ท่องโลกออนไลน์บน Android Browser
ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android เราสามารถท่องเน็ตได้ดังใจไม่ต่างจากการเปิดเบราเซอร์ในคอมพิวเตอร์เลย ไม่ว่าการเปิดเว็บเพจหลายหน้าพร้อมๆ กัน, การสลับไปยังเว็บเพจแต่ละหน้า หรือการสร้างบุ๊กมาร์ก ล้วนทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส
- เข้าสู่การท่องเว็บ
- ใช้เสิร์ชเอ็นจินเปิดเว็บที่ต้องการ
- เปิดโดยพิมพ์ URL ในช่องแอดเดรสบาร์
- เปิดเว็บเพจจากบุ๊กมาร์ก
- เปิดเว็บเพจจากประวัติการใช้งาน
- ใช้เครื่องมือพิมพ์คำค้นหา
- เปิดเว็บเพจด้วยคำสั่งเสียง
- เปิดจากชอร์ตคัตที่หน้า Home
- ควบคุมการใช้งานเว็บเพจ
- ค้นหาคำในเว็บเพจ
- จัดการกับข้อความในเว็บเพจ
- การเปิดดูและจัดการภาพบนเว็บเพจ
- เปิดหน้าต่างใหม่
- แชร์เว็บเพจให้เพื่อน
- สร้างและจัดการบุ๊กมาร์ก
- จัดเก็บเว็บเพจไว้ในบุ๊กมาร์ก
- เปลี่ยนมุมมองในบุ๊กมาร์ก
- ย้ายตำแหน่งรายการบุ๊กมาร์กที่จัดเก็บไว้
- แก้ไขชื่อ, แชร์, ลบ และการจัดการอื่นๆ กับเว็บเพจ
- สร้างโฟลเดอร์จัดเก็บเว็บเพจ
- แก้ไขชื่อโฟลเดอร์
- ลบโฟลเดอร์ออกจาก Bookmarks
- ย้ายเว็บเพจไปยังโฟลเดอร์
- จัดการกับประวัติการเปิดเว็บเพจ
บทที่ 9 ใช้งานปฏิทินและสมุดบันทึก
สำหรับใครที่มีกิจกรรมประจำวันค่อนข้างมาก บางกิจกรรมก็ต้องทำร่วมกับผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยบันทึกกำหนดการนัดหมายเพื่อจัดคิวให้ลงตัว ดังนั้น ย่อมไม่ควรพลาดแอป Calendar เพราะช่วยบันทึกกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างละเอียด และสามารถแชร์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงเตือนให้เรารู้เมื่อถึงเวลานัดหมายอีกด้วย
- เช็กตารางเวลาและสร้างการนัดหมายในปฏิทิน
- ดูปฏิทินในมุมมองต่างๆ
- ไปยังวันที่ปัจจุบัน
- ไปยังวันที่ที่ต้องการ
- ค้นหาตารางนัดหมาย
- เปิดอ่านรายละเอียดตารางนัดหมาย
- การสร้างนัดหมายในปฏิทิน
- แก้ไขนัดหมายที่สร้างขึ้น
- แชร์ตารางนัดหมายให้เพื่อน
- การลบนัดหมาย
- ตั้งค่านัดหมาย
- เพิ่มแอ็กเคาต์การซิงค์นัดหมายกับปฏิทิน
- บันทึกช่วยจำด้วย Memo
- เขียนบันทึกใหม่ใน Memo
- เปลี่ยนมุมมองการแสดงบันทึก
- เปลี่ยนสีกระดาษบันทึก
- ล็อกบันทึกเพื่อความปลอดภัย
- แชร์บันทึกให้เพื่อน
- แชร์บันทึกไปยังสังคมออนไลน์
- ซิงค์บันทึกไป Google
- ลบบันทึก
- บันทึกแบบมีสีสันด้วย Pen memo
- การสร้างบันทึก
- การเลือกใช้เครื่องมือใน Pen memo
- ตั้งค่าการใช้งานเครื่องมือ
บทที่ 10 การใช้งาน Gmail
ส่วนใครที่ใช้ Gmail ในการติดต่อสื่อสารหรือรับ-ส่งงานเป็นหลัก ขอบอกเลยว่าการใช้งานอีเมลใน Galaxy Tab มีความสะดวกไม่แพ้การใช้งานในคอมพิวเตอร์ เราสามารถเปิดอ่านเนื้อความและเปิดไฟล์แนบ ไม่ว่าไฟล์ภาพหรือไฟล์เอกสารก็ตาม และเมื่อมีอีเมลส่งมาถึงเรา ก็มีระบบแจ้งเตือนให้ทราบทันที
- เพิ่มแอ็กเคาต์ Gmail
- สลับแอ็กเคาต์ที่ต้องการใช้งาน
- ลบแอ็กเคาต์ Gmail
- เช็กอีเมลใน Gmail
- ส่วนประกอบบนหน้าจอหลัก Gmail
- เปิดอ่านอีเมล
- ตรวจสอบสถานะของอีเมล
- กำหนดให้เป็นอีเมล Starred
- กำหนดให้เป็นอีเมล Archive
- กำหนดให้เป็นอีเมลสำคัญ
- กำหนดให้เป็นอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน
- ลบอีเมล
- ยกเลิกสิ่งที่จัดการกับอีเมล
- เปิดอ่านอีเมลแบบ Conversation
- ดาวน์โหลดรูปภาพหรือไฟล์แนบ
- ตอบกลับหรือส่งต่ออีเมลที่ได้รับ
- เขียนและส่งอีเมลฉบับใหม่
- จัดเก็บอีเมลเป็นฉบับร่าง
- ย้ายอีเมลไปยัง Labels
- ตั้งค่าการใช้งาน Gmail
- ตั้งค่าการใช้งานทั่วไป
- ตั้งค่าการใช้งานแอ็กเคาต์
บทที่ 11 ใช้งานอีเมลอื่นๆ ผ่านแอป Email
ใครที่ใช้อีเมลอื่นๆ นอกเหนือจาก Gmail ไม่ว่าจะเป็นอีเมลแบบ POP3, IMAP หรือ Microsoft Exchange สามารถเพิ่มแอ็กเคาต์เพื่อใช้งานอีเมลนั้นๆ ใน Galaxy Tab ผ่านแอป Email ได้ จึงจัดการกับอีเมลได้อย่างคล่องตัวทุกที่ทุกเวลา
- เพิ่มแอ็กเคาต์อีเมลแรก
- เพิ่มแอ็กเคาต์อีเมลอื่น
- เลือกแอ็กเคาต์ที่ต้องการใช้งาน
- กำหนดการแสดงผลของอีเมล
- กำหนดเงื่อนไขการแสดงอีเมลก่อน-หลัง
- เลือกโหมดการแสดงอีเมล
- สร้างโฟลเดอร์เก็บอีเมล
- เปิดอ่านอีเมล
- เขียนอีเมลใหม่
- ตั้งค่าการใช้งาน
- ตั้งค่าการใช้งานทั่วไป
- ตั้งค่าการใช้งานแอ็กเคาต์
บทที่ 12 ใช้งาน GPS กับแอปพลิเคชันแผนที่และการนำทาง
ใน Galaxy Tab มีแอปของ Google เกี่ยวกับการค้นหาตำแหน่งและสถานที่ให้ใช้งานถึง 3 ตัวด้วยกัน คือ Maps, Places และ Latitude ทำให้สามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริการ Google Street View ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นสถานที่นั้นๆ แบบ 360 องศา รวมทั้งมองเห็นสภาพแวดล้อมของสถานที่อีกต่างหาก เหมือนกับว่าเราเดินทางไปถึงสถานที่นั้นแล้ว
- GPS คืออะไร
- เปิดใช้งานการค้นหาตำแหน่ง
- การแสดงผลของ Maps
- เรียกดูตำแหน่งปัจจุบัน
- ควบคุมหน้าจอและดูแผนที่แบบ 3 มิติ
- มุมมองแผนที่แบบต่างๆ
- ค้นหาสถานที่ด้วย Maps
- พิมพ์์คำค้นหา
- ค้นหาจาก POI
- ค้นหาจากสถานที่โปรด
- ค้นหาจากละติจูด
- ดูข้อมูลสถานที่
- นำทางด้วย Maps
- ขอเส้นทางไปยังสถานที่
- ดูเส้นทางการเดินทาง
- กำหนดเงื่อนไขของเส้นทาง
- ขอเส้นทางย้อนกลับ
- ลบข้อมูลสถานที่และเส้นทาง
- ใช้ Latitude หาตำแหน่งของเพื่อน
- เปิดใช้งาน Latitude
- ตอบรับคำขอแชร์ตำแหน่ง
- ชวนเพื่อนมาแชร์ตำแหน่ง
- ดูตำแหน่งและข้อมูลของเพื่อน
- ตั้งค่าการแชร์ตำแหน่ง
- ค้นหาสถานที่ใกล้เคียงด้วย Places
- กำหนดเงื่อนไขการค้นหา
- ดูข้อมูลสถานที่และให้เรตติ้ง
บทที่ 13 จัดการเอกสารบนแท็บเล็ต
ไม่ว่าจะเป็นเอกสารรูปแบบใด ทั้ง Document, Sheet และ Slide เราสามารถเปิดอ่านหรือสร้างเอกสารขึ้นใหม่ได้ผ่านแอป Polaris Office ซึ่งมีเครื่องมือให้ใช้งานครบถ้วน กำหนดได้ทั้งชนิดของฟอนต์และขนาด, กำหนดสีของฟอนต์, ตั้งค่าหน้ากระดาษ, กำหนดหัวข้อเนื้อหา, สร้างตาราง, ใส่กราฟ, ใช้สูตรคำนวณ ฯลฯ และสามารถบันทึกไฟล์ได้หลายฟอร์แมต
- เปิดเอกสารเพื่ออ่านหรือแก้ไข
- ดูเอกสารที่เพิ่งเปิดล่าสุด
- เปิดเอกสารที่อยู่ในเครื่อง
- แก้ไขเอกสาร
- สร้างเอกสารใหม่
- สร้างข้อมูลใน Document
- สร้างตารางงานใน Sheet
- สร้างพรีเซนเทชันใน Slide
บทที่ 14 ดูคลิปบน YouTube
ใครที่ชื่นชอบการดูคลิปแล้วล่ะก็ สามารถเปิดดูคลิปที่ต้องการได้ง่ายๆ ผ่านแอป YouTube จะค้นหาคลิปที่ต้องการแบบเจาะจง หรือค้นหาตามหมวดหมู่ก็ได้ เพราะเขาออกแบบแอปนี้มาให้เข้าถึงคลิปต่างๆ ได้ไม่ยาก เมื่อเจอคลิปที่ถูกใจก็ยังสามารถกำหนดเป็นคลิปโปรดใน Channel ส่วนตัวเอาไว้ดูอีกภายหลัง หรือจะติดตามการอัปโหลดคลิปของคนอื่น รวมทั้งอัปโหลดคลิปเองผ่าน Galaxy Tab ก็ทำได้เช่นกัน
- การแสดงรายการบน YouTube
- ล็อกอินใช้งาน YouTube
- ค้นหาคลิปวิดีโอ
- เลือกโหมดแสดงผลการค้นหา
- ชมคลิปวิดีโอ
- ควบคุมการเล่นคลิป
- บักทึกเป็นคลิปโปรด
- บันทึกคลิปไปไว้ใน Playlists
- กด Like หรือ Dislike ให้คลิป
- คอมเมนต์คลิปวิดีโอ
- ติดตามผู้ปล่อยคลิป
- อัปโหลดคลิป
บทที่ 15 เล่น Social Network
ถ้าใครมีสังคมออนไลน์อยู่หลายแห่งและมีเวลาน้อย ไม่ค่อยสะดวกที่จะเข้าไปยังแอปของสังคมออนไลน์นั้นๆ โดยตรง แต่ไม่อยากพลาดการอัปเดตความรู้สึกนึกคิดให้เพื่อนในเครือข่ายรับรู้ รวมถึงไม่อยากพลาดความเคลื่อนไหวของเพื่อน เข้ามาที่แอปนี้เลย Social Network
- เพิ่มแอ็กเคาต์ครั้งแรก
- เพิ่มแอ็กเคาต์อื่นๆ
- ใช้งาน Social Hub
- อัปเดตสถานะไปยังสังคมออนไลน์
- กด Like, คอมเมนต์, ส่งข้อความถึงเพื่อน
- ลบแอ็กเคาต์
บทที่ 16 ใช้งานแอปพลิเคชันที่มากับเครื่อง
มีแอปอีกหลายตัวที่น่าใช้ใน Galaxy Tab ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่เราได้ ในบทนี้ได้รวบรวมแอปต่างๆ หลายตัวที่น่าใช้ ไม่ว่าจะเป็น Mini apps ช่องทางการเข้าถึงแอปต่างๆ ที่เรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว, Pen memo เครื่องมือจดบันทึกที่ทำได้ทั้งการพิมพ์และเขียนด้วยมือ หรือ Photo editor ที่ช่วยให้เราสามารถแต่งภาพได้อย่างอิสระตามจินตนาการ
- Mini apps ใช้งานสะดวก
- My files จัดการไฟล์ต่างๆ ในเครื่อง
- เรียงลำดับไฟล์ในโฟลเดอร์
- ส่งต่อ, คัดลอก หรือลบไฟล์
- เปลี่ยนชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์
- สร้างโฟลเดอร์ใหม่
- Pen memo บันทึกด้วยลายมือ
- สร้าง memo ใหม่
- เครื่องมือใน Pen memo
- นำภาพมาวางใน Pen memo
- Export งานไปยัง Gallery
- ซิงค์ไปยัง Google docs
- ลบ Pen memo
- Photo editor แต่งภาพตามใจชอบ
- เลือกภาพที่จะนำมาแต่ง
- เครื่องมือใน Photo editor
- แชตกับเพื่อนผ่าน Talk
- จัดการสถานะส่วนตัว
- ชวนเพื่อนมาแชตด้วยกัน
- ตอบรับคำขอจากเพื่อน
- แชตกับเพื่อน
- เพิ่มแอ็กเคาต์อื่นที่จะใช้ในการแชต
บทที่ 17 ดาวน์โหลดแอปใน Google Play
Google ได้เปลี่ยนชื่อบริการคลังแอปพลิเคชันของตนใหม่จาก Android Market เป็น Google Play ด้วยเหตุผลด้านการบริหารจัดการ และจากการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้ แอปและเกมต่างๆ ใน Google Play จึงเพิ่มจำนวนขึ้นจากกว่าหนึ่งแสนรายการเป็นหลายแสนรายการอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแอปใหม่ๆ เกมมันๆ ที่น่าติดตามมาให้เลือกตลอดเวลาไม่เว้นแต่ละวัน
- Market เปลี่ยนเป็น Google Play
- แอปและเกมใน Google Play
- ค้นหาแอปใน Google Play
- สถานะของแอปใน Google Play
- ดาวน์โหลดแอปฟรีบน Galaxy Tab
- ดาวน์โหลดแอปเสียเงินบน Galaxy Tab
- ขอเงินคืนค่าแอป
- กำหนดเรตการดาวน์โหลดแอป
- ดาวน์โหลดแอปผ่านเว็บ Google Play
- ล็อกอินด้วยแอ็กเคาต์ Gmail
- ดาวน์โหลดแอปฟรีบนหน้าเว็บเพจ
- ดาวน์โหลดแอปเสียเงินบนหน้าเว็บเพจ
- การติดตั้งแอปจากไฟล์ apk
- ดาวน์โหลดแอปด้วยการสแกน QR Code
- อัปเดตแอปพลิเคชัน
- อัปเดตเฉพาะเฉพาะแอปที่ต้องการ
- อัปเดตแอปทั้งหมด
- ตั้งค่าแจ้งเตือนการอัปเดต
- ลบแอปพลิเคชัน
- ลบจาก My apps
- ลบจาก Application
บทที่ 18 ตั้งค่าการใช้งาน
ปกติแล้วเราจำเป็นต้องตั้งค่าหรือปรับแต่งการทำงานของระบบหรือแอปพลิเคชันต่างๆ เพิ่มเติมจากค่าพื้นฐานที่ถูกตั้งมาจากโรงงาน เพื่อให้สามารถใช้ระบบหรือแอปพลิเคชันตามความถนัดของเรามากที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานด้วย โดยเข้าไปที่ Settings ก่อน แล้วจึงเลือกรายการเกี่ยวกับการตั้งค่าส่วนที่ต้องการ
- เข้าเมนูการตั้งค่า
- Wireless and networks ตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆ
- ใช้งาน Flight mode
- เปิด-ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi
- ตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi
- เชื่อมต่อ Kies ผ่าน Wi-Fi
- เปิด-ปิดสัญญาณบลูทูธ
- ตั้งค่าการใช้งานบลูทูธ
- เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น
- ยกเลิกการเชื่อมต่อ
- ส่งไฟล์ผ่านบลูทูธ
- รับไฟล์ผ่านบลูทูธ
- Tethering and portable hotspot แชร์เน็ตให้อุปกรณ์อื่น
- Sound ตั้งค่าเสียงเตือนต่างๆ
- Screen ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าจอ
- Power saving mode ตั้งค่าโหมดประหยัดพลังงาน
- Location and security ตั้งค่าตำแหน่งและความปลอดภัย
- My location เปิด-ปิดการแสดงตำแหน่ง
- Lock screen ตั้งค่าการปลดล็อกหน้าจอ
- Encrypt การเข้ารหัสป้องกันข้อมูล
- Find my mobile ตั้งค่าการตามหาเครื่องหาย
- SIM card lock ตั้งค่าป้องกันผู้อื่นใช้เครื่อง
- Password กำหนดให้มองเห็นรหัสผ่านเวลากรอก
- Applications ตั้งค่าแอปพลิเคชัน
- Accounts and sync ตั้งค่าแอ็กเคาต์และการซิงค์
- ตั้งค่า General sync settings
- ตั้งค่า Manage accounts
- Motion settings ตั้งค่าการควบคุมหน้าจอ
- Storage ตรวจสอบสถานะหน่วยความจำเครื่อง
- Privacy ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
- ตั้งค่า Backup and restore
- Personal data กลับสู่ค่าเริ่มต้น
- Language and input ตั้งค่าภาษาและคีย์บอร์ด
- Language settings เลือกภาษาในการแสดงผล
- Voice input ตั้งค่าการใช้งานคำสั่งเสียง
- Voice output ตั้งค่าเสียงตอบสนอง
- Keyboard settings ตั้งค่าการทำงานของคีย์บอร์ด
- ตั้งค่า Samsung keypad
- ตั้งค่าคีย์บอร์ดแบบ Swype
- Accessibility ตั้งค่าการใช้งานเพื่อผู้พิการ
- Date and time ตั้งค่าวันที่และเวลา
- About tablet ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ Galaxy Tab
บทที่ 19 เกมน่าเล่นใน Google Play
มีเกมมันๆ ใน Google Play ที่น่าสนใจหลายเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมแนวบู๊มันสะใจ, แนวกีฬา, แนวเบาสมอง และอื่นๆ ลองมาดูกันว่าเกมที่แนะนำในบทนี้จะมีเกมไหนบ้างที่ถูกใจคุณ และถ้าสนใจอยากลองเล่นบ้าง ก็สามารถเข้าถึงลิงก์ดาวน์โหลดเกมนั้นได้ง่ายด้วย QR Code ส่วนการดาวน์โหลดและติดตั้งใช้เวลาแค่ไม่กี่นาที คุณก็จะได้สนุกกับเกมนั้นๆ สมใจ
- Age of wind 2 ปืนใหญ่จอมสลัด
- Air Control Lite หอบังคับการบิน
- Apparatus lite ฝึกทักษะเชิงฟิสิกส์
- Armored Strike Online การปะทะระหว่างยานเกราะ
- Basketball Shot 3D ชู้ตบาสประลองความแม่น
- Battle Ludo เดินหมากมหาสนุก
- Beer Pong HD เกมการท้าทายของสิงห์นักดื่ม
- Bottle Shoot ปาขวดระบายอารมณ์
- Brothers In Arms 2 ภารกิจรบสงครามโลก
- Burn the Rope เกมเผาเชือก
- Can Knockdown ปากระป๋องประลองความแม่น
- Car Conductor: Traffic Control วาทยากรควบคุมการจราจร
- Cat vs Dog สงครามหมาแมว
- Cloudy ร่อนจรวดเก็บดาว
- CutnRoll กลิ้งเต่าเข้ารู
- Drag Racing รถแข่งควอเตอร์ไมล์
- Dune Rider รถแข่งสิงห์ทะเลทราย
- Eagle Nest II กระหน่ำรังนกอินทรี
- Extreme Formula รถแข่งสุดโต่ง
- eXtreme MotoCross มอเตอร์ครอสลีลา
- FRONTLINE COMMANDO หน่วยรบพิฆาตเดนตาย
- Gem Miner ตะลุยเหมืองแร่
- GUN BROS MULTIPLAYER คู่หูตะลุยดงเครื่องจักรสังหาร
- HEAVY GUNNER 3D ป้อมปืนสกัดจักรกลสังหาร
- Hungry Shark 3 ฉลามหิวคลั่งล่า
- i Fishing Lite ตกปลากลางทะเลสาบ
- Iron Sight - LITE ศึกหุ่นรบจรวดพิฆาต
- Jet Car Stunts รถเจ็ตทะยานฟ้า
- Lets Golf! 3 ตีกอล์ฟกันเถอะ
- Office Jerks กระตุกหนวดหนุ่มออฟฟิศ
- Real Football 2012 ศึกลูกหนังสุดมัน
- Robo Defence ตั้งป้อมป้องกันการรุกราน
- robotek สงครามหุ่นกระป๋อง
- Skater Boy ลีลาเด็ดสเก็ตบอย
- Slice It! เฉือนมัน!
- Sniper นักฆ่าไร้เงา
- Special Forces ปฏิบัติการหน่วยรบพิเศษ
- Stick Swing กระโดดข้ามตึก
- SummitX Snowboarding สโนว์บอร์ดลีลาขั้นเทพ
- Tank Hero รถถังประจัญบาน
- Unblock Me ปลดล็อกแท่งไม้
- Winds of Steel ภารกิจสงครามเหนือน่านฟ้า
- WordSearch Unlimited หาคำศัพท์
บทที่่ 20 แอปพลิเคชันที่น่าสนใจ
แอปพลิเคชัน หรือ แอป เป็นเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการใช้งานต่างๆ ของเรา นอกจากแอปพื้นฐานที่มีมากับเครื่องตั้งแต่แรก เราสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมจาก Google Play ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือกเป็นแสนรายการ หลากหลายประเภท ผมย่อมไม่สามารถแนะนำได้ทั้งหมด ขอคัดเฉพาะแอปที่น่าสนใจเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ละกันนะครับ
- 4shared mobile โหลดได้ไม่มีอั้น
- AndroZip File Manager สร้างและเปิดไฟล์ซิป
- Cartoon Camera ถ่ายรูปให้เป็นภาพการ์ตูน
- ConvertPad - Unit Converter แปลงหน่วยสารพัด
- Drums HD กลองดีตีดัง
- Facebook for Android คุณโหลดแล้วหรือยัง
- Free MP3 Downloader คอเพลงต้องไม่พลาด
- Google+ สังคมออนไลน์สุดฮิป
- Ideal Weight (BMI) เช็กสิว่าเราหนักไปไหม
- Instagram อยากโชว์ภาพต้องแอปนี้
- LINE แอปแชตยอดฮิต
- Mindjet for Android แผนที่ความคิดสำหรับแอนดรอยด์
- Multi-lens Camera กล้องหลายเลนส์
- My Piano เล่นเปียโนบน Galaxy Tab
- Photo Grid สร้างสรรค์รูปเก๋ๆ
- Photo Warp ทำภาพให้บิดเบี้ยวผิดรูป
- Pixlr-o-matic ปรับแสงแต่งภาพแนวๆ
- Poweramp Music Player เครื่องเล่นเพลงสุดชิค
- QR Droid แอปสร้าง QR Code
- SE-ED for Tablet ช็อปหนังสือผ่านออนไลน์
- Shazam เพลงนี้เพลงอะไร
- Sit Ups pro เทรนเนอร์ส่วนตัว
- SketchBook Express เครื่องมือวาดภาพของมืออาชีพ
- Sketch Me สร้างภาพสเก็ตช์ได้ง่ายจัง
- Skype - free video calling โทรศัพท์ผ่านเน็ต
- Software Data Cable เชื่อมต่อแชร์ไฟล์ไม่ง้อสาย USB
- TubeMate YouTube Downloader โหลดคลิปลงเครื่อง
- TV Thailand ดูรายการย้อนหลัง
- TVIS ข้อมูลเส้นทางอัจฉริยะ
- TweetCaster for Twitter ทวีต ทวีต ทวีต
- Voice Recorder เครื่องบันทึกเสียง
- Winamp เครื่องเล่นเพลงยอดฮิต
แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ
|